สาเหตุการเป็นตะคริว เกิดจากเอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้มีการยืดตัวบ่อยๆ จึงทำให้มีการเกร็งกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นยังเกิดจากเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติไป หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดี !!!
1. การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ เสียสมดุลของกระแสประสาทในร่างกาย ภาวะขาดน้ำจะส่งผลกระทบต่อเส้นประสาท สมองก็จะสั่งงานร่างกายปรกพร่อง
2. การนั่ง นอน หรือยืนในท่าเดิมนานๆทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งตัวมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายผลิตกรดแล็คทิคขึ้นมาช่วยคลายกล้ามเนื้อ แตายิ่งเกร็งมาก กรดชนิดนี้ก็ยิ่งเกิดขึ้นมาก ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อกระตุกคลายตัวอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นตะคริว
3. ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียม ได้แก่ ท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก หรือรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ซึ่งอาจทำให้เป็นตะคริวรุนแรง คือเกิดกับกล้ามเนื้อหลายส่วนของร่างกาย และมักจะเป็นอยู่นาน
4. หญิงตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก เพราะน้ำหนักของท้องจะไปกดทับหลอดเลือดขนาดใหญ่ในช่องท้อง
5. นักกีฬา ผู้ที่ชอบเล่นกีฬา หรือผู้ที่ทำงานในอาชีพที่ต้องใช้แรงงานและอยู่กลางแดด การได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำที่กล้ามเนื้อ
6. กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะคริวได้บ่อย
7. กล้ามเนื้อขาดเลือด หากออกกำลังกายอย่างหนักโดยที่ไม่ได้วอร์มอัพ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ
8. ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตัน เช่น ผู้สูงอายุอาจเป็นตะคริวขณะที่เดินนานๆ เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี
9. การไหลเวียนของเลือดไปล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ เกิดจากคลอเลสเตอรอล และไขมันในเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดอุดดัน หรือตีบลง จนเลือดไหลไปล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกายได้ไม่เพียงพอ
10. การดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีผลเพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะ ร่างกายจึงมักขาดน้ำรวมทั้งกล้ามเนื้อ
11. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ,ยาลดไขมัน,ยาลดความดัน,ยาขยายหลอดลม,ยารักษาโรคกระเพาะ,เพนิซิลลามีน,ฟีโนไทอาซีน,ราโลซิฟีน,มอร์ฟีน,สเตียรอยด์ ฯลฯ
12. พบร่วมกับโรคเรื้อรัง เช่น โรคพาร์กินสัน,โรคโลหิตจาง,โรคเบาหวาน,ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ,โรคของต่อมไทรอยด์,โรคตับและโรคไต ตับแข็ง ไตวาย ฯลฯ