หากคุณคือคนหนึ่งที่รู้สึกว่านอนมากแค่ไหน ก็ยังรู้สึกว่าไม่มากพอ ตื่นแล้วอยากนอนต่อ รู้สึกเพลีย ง่วงนอนระหว่างวัน เฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา หรืออาจถึงขั้นเผลอหลับขณะกำลังทำกิจกรรมบางอย่างอยู่ นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คุณกำลังเข้าข่ายว่าจะเป็น โรคนอนเกิน (Hypersomnia) หรือ การหลับเกินพอดี โรคที่หลายคนอาจกำลังเป็นอยู่โดยไม่รู้ตัว โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอาการแบบไหน แล้วรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ วันนี้ GangBeauty จะมาให้ข้อมูลเรื่องนี้กันค่ะ


:pixabay.com

สาเหตุของโรค

โรคนอนเกิน มักจะเกิดขึ้นในคนขี้เซา เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ในคนที่อดนอนสะสม ใช้งานร่างกายอย่างหนัก ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า คนที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆจนนาฬิกาชีวิตแปรปรวน ร่างกายปรับเวลาไม่ทัน ผู้ที่มีฮอร์โมนหรือสารบางอย่างในสมองไม่สมดุล ผลข้างเคียงจากการทานยาบางชนิด โรคที่เกี่ยวกับสมอง หรือในผู้ที่นอนกรนเพราะอาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้รู้สึกว่านอนไม่เต็มอิ่ม


:pixabay.com

อันตรายของโรคนอนเกิน

1. ผลกระทบต่อสมอง ทำให้สมองเฉื่อยชา สมองล้า ไร้ชีวิตชีวา ความจำไม่ดี

2. ผลกระทบต่ออารมณ์ ทำให้หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล รวมไปถึงอาการหดหู่ เศร้า เครียด จนก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติถึงร้อยละ 49 เนื่องจากสารที่สร้างฮอร์โมนแห่งความสุขลดต่ำลง


:pixabay.com

3. การทำงานของกระดูและข้อ เสื่อมประสิทธิภาพลง เนื่องจากไม่ค่อยขยับตัว ไม่อยากลุกไปไหน เชื่องช้า สาเหตุหนึ่งของโรคกระดูกพรุน

4. น้ำหนักเกิน อ้วนง่าย ระบบการเผาผลาญทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะกินแล้วนอน ทำให้อาหารไม่ย่อย ไม่ได้ออกกำลังกาย อาจเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด และอื่นๆ


:pixabay.com

5. เกิดภาวะมีบุตรยาก เพราะฮอร์โมนหรือรอบเดือนของผู้หญิง จะเป็นปกติต่อเมื่อร่างกายพักผ่อนอย่างพอดี

6. เสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจฉับพลัน หรือ ไหลตาย เพราะเนื้อสมองตาย เนื่องจากการดับไปของสัญญาณสมองที่นานกว่าคนปกติ

หากคุณหรือคนรอบตัว มีอาการนอนเกิน นอนมากกว่าคนปกติ หรืออาการอื่นๆที่บ่งชี้ถึงโรค ให้คิดไว้ก่อนว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ไม่ใช่ความขี้เกียจอย่างที่หลายคนเข้าใจ และควรปรับตารางเวลานอนใหม่ให้สมดุล อย่าอดนอน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือถ้ายังไม่ดีขึ้นควรไปพบเเพทย์เพื่อหาวิธีรักษาต่อไปค่ะ