หลายๆครั้งเวลาคนเราเจอเรื่องไม่ดี เรื่องทำให้หงุดหงิด ก็มักจะโทษคนอื่น โทษสิ่งของ โทษดวงชะตา ยิ่งถ้าเป็นบ่อยๆก็จะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย คิดอะไรก็มีแต่เรื่องลบๆ จนสุดท้ายกลายเป็นพฤติกรรมที่คิดในเชิงลบ
พฤติกรรมที่คิดในเชิง “ลบ” มีอะไรบ้าง?
?ความคิดในเชิงลบ โดยมากแล้ว มักจะเป็น ปัญหาที่มักจะเกิดในวัยเด็กเราอาจจะมีความขัดแย้งหรือภาวะบอบช้ำ อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก อย่างเช่น ถูกพ่อ แม่ ตี โดยที่ตัวเองไม่ได้ทำผิด เป็นต้น จะถูกสะสมอยู่ในระดับ จิตใต้สำนึกแล้ว ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมซึ่งแบ่งเป็น 11 รูปแบบ คือ..
1. “เย็นชา”
คือ คนที่เฉยๆ ไม่ค่อยยินดี ยินร้าย ขาดเป้าหมายในชีวิต และชอบ “เก็บตัว” เงียบๆ อยู่คนเดียว “เหม่อลอย” และทำงานแบบ ไม่มีแรงบันดาลใจ นิ่งๆ เฉยๆ อยู่ได้เป็นวันๆ วิธีแก้?ต้องใช้ สติ ย้อนเข้ามาดู ว่า หากเรา ไม่สนใจใยดีอย่างนี้จะเกิดผลอย่างไร ถามตัวเองว่าเรา จะ ยอมรับ ผลที่เกิดขึ้นตรงนั้นได้หรือเปล่า?
2. “รักตัวเองไม่เป็น”
คือ ไม่รู้จักรักตัวเอง ไม่เคารพตัวเอง ขาด ความภาคภูมิใจ ในตัวเอง เช่น ไม่พอใจในสรีระของตัวเอง รู้สึกตัวเอง ไม่สวย ไม่ดี ไม่มีความพอดี คิดตำหนิตัวเองอยู่ตลอดเวลา วิธีแก้? คือพอใจในตัวเองและที่ สำคัญคือ คนเราจะใครชอบใคร หรือว่าจะ ยอมรับใคร มันไม่ได้อยู่ลักษณะอาการภายนอก มันอยู่ที่ พื้นฐานข้างใน มันอยู่ที่ “ความงดงามภายใน”
3. “ต้องการเป็นที่ยอมรับอยู่เสมอ”
คือ คนที่ต้องการให้คนมา “ยอมรับ” ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เราจะสังเกตได้ง่ายๆ คือ คนประเภทนี้จะเป็นคนประเภท ถูกตำหนิไม่ได้ ประเภทฉันไม่ดี ฉันทำอะไรเสียหมด..เธอว่าฉัน เธอทำเองแล้วกัน?ฉันไปดีกว่า วิธีแก้?คือ มองตัวเองและเคารพตัวเอง สร้าง “ภาพลักษณ์” โดยการ “ยอมรับตัวเอง”
4. “จมปลักอยู่กับอดีต”
คนประเภทที่.. “ฉันเป็นคนอย่างนี้แหล่ะ คงไม่มีใครรักฉันจริง ไม่มีใครที่จะยอมรับฉันได้” แทนที่จะคิดอย่างนั้นให้ “ยอมรับ” ว่า “ฉันเคยเป็น” แต่สิ่งที่ฉัน “เป็น” ในวันนี้ มันไม่ใช่สิ่งที่ “เคยเป็น” ฉันได้ “เปลี่ยนแปลง” แล้ว มีวิธีคิด
5. “อารมณ์ไร้สาระ”
คือ คนที่ตกอยู่ในอารมณ์ “รู้สึกผิดมากเกินไป” เช่น ตีอกชกตัวและทำท่า “สำนึกผิด” เพื่อจะได้พ้นตัว และ พ้นความรับผิดชอบไป จะได้มีคนช่วยเหลือและมาทำหน้าที่แทน ทางแก้คือ วิเคราะห์ออกมาแล้วหาทางแก้ไขมีระบบงาน “ชัดเจน”
6. “กลัวการลองของใหม่”
คือ คนที่มีระเบียบวินัยมากเกินไป ทำอะไรซ้ำๆ ระมัดระวังเรื่องเวลา ทางแก้คือ ต้องมองให้ออกก่อนว่า ทุกอย่างไม่จำเป็นต้อง “สมบูรณ์แบบ” แค่พอใช้ได้ก็พอล้ว และ อย่ากลัว ความล้มเหลว ให้นึกว่า พอล้มก็ เริ่มใหม่ได้
7. “กลัวการแหวกกรอบของประเพณี”
เช่น ถ้าเราไม่ชอบ ก็ไม่ต้องทำ แล้วเลิกจับผิดผู้อื่น
8. “โลกนี้ไม่มีความยุติธรรม”
คือ ประเภท “บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องชำระ” ให้มองว่า โลกเรานี้ มี “ให้” และ “รับ” เราต้องหัดรับบ้างหัดให้บ้าง โลกเราก็อยู่ได้อย่างสงบสุข
9. “ผัดวันประกันพรุ่ง”
ต้องแก้โดย ยอม “รับผิดชอบ” ในสิ่งที่เราทำ คือ เมื่อผัดวันประกันพรุ่งแล้วเกิดความเสียหายอย่างไร เราต้องยอมรับและเรียนรู้เพื่อแก้ไข
10. “พึ่งพาผู้อื่น”
คือคนประเภท ที่ตัดสินใจเองไม่เป็น ไม่รู้จัก “ความสันโดษ คนประเภทนี้มาจากพื้นฐานครอบครัวประเภทที่ ชอบ “ออกคำสั่ง” ทางแก้ คือ เราต้องรู้ว่า “ใคร” เป็นผู้ “ครอบงำ” ความคิด และการตัดสินใจของเราอยู่ แล้วให้ไปบอกผู้นั้นว่า เราเป็นคน มีหลักการโดยการแสดงให้เขาเห็นว่าเราทำตามหลักการนั้น อย่าปล่อยให้เขามาครอบงำเราได้มาก
11. “โกรธแล้วต้องแสดงออก”
ทางแก้คือเราต้องพิจารณา ว่า ความโกรธไม่มีประโยชน์ มันเป็นการโยนสิ่งที่เป็นลบ ให้กับตัวเองและผู้อื่น และ สถานการณ์ที่เรา ควบคุมไม่ได้ เราอาจไม่จำเป็นต้องไปโกรธ เช่น “รถติด” แม้เราจะโกรธไป รถก็ไม่ได้หายติด ทางแก้คือ แก้ที่ “ใจ” ทางแก้คือ หาอะไรที่สร้างสรรค์จรรโลงใจทำดีกว่า เช่น รถติดแล้วเราทำอะไรไม่ได้ก็เปิดซีดีธรรมะฟังดีกว่า
พฤติกรรมเชิงลบ (Negative Thinking) ทั้ง 11 แบบ นี้ เป็นเพียงกระจกที่สะท้อนให้ ตัวเราเห็นว่า จุดบกพร่อง ของเราเป็นอย่างไร และสามารถแก้ได้ ด้วยการมี “สติ”