กิจวัตรประจำวันคือเรื่องสุดเบสิกพื้นฐาน ที่คนส่วนใหญ่ก็ทำกันได้อยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าบางอย่างที่เรากำลังทำอยู่ด้วยความเคยชิน อาจเป็นความผิดที่ก่อให้คุณภาพชีวิตของเราแย่ลงได้ Gangbeauty กำลังจะพูดถึง 11 กิจวัตรประจำวัน ตั้งแต่เช้าถึงเข้านอนว่าส่วนใหญ่แล้ว ทำอะไรกันผิดอยู่บ้าง!
06.30 น. กดปุ่มเลื่อนนาฬิกาปลุก – ปัจจุบันมักใช้โทรศัพท์มือถือในการตั้งนาฬิกาปลุก และส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ตื่นตามเวลาที่ตั้งปลุกในครั้งแรกเอาไว้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน ทิมโมธี มอร์เกนธาเลอร์ กล่าวว่านี่คือสิ่งที่ไม่ดี เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายเข้าสู่วงจรการหลับไม่มีสิ้นสุด ซึ่งเป็นเหตุให้ตื่นเช้ามาแล้วรู้สึกมึนงงมากกว่าสดชื่นนั่นเอง
www.flickr.com
07.00 น. ตื่นแล้ว หยิบมือถือเช็กโซเชียล – ช่วงตื่นนอน เป็นช่วงเวลาที่ควรทำสมองทุกอย่างให้โล่ง โปร่งสบาย อย่าพยายามหาเรื่องปวดหัวกวนใจใดๆ เข้ามารบกวนการฟื้นของสมอง เพราะจะทำให้ทั้งวันดูเหมือนจะมีแต่เรื่องยุ่งวุ่นวาย กังวล ครุ่นคิด ตึงเครียดไปหมด ทางที่ดี เว้นระยะหลังตื่นนอนสักประมาณ 1 ชั่วโมงเถอะ
www.flickr.com
07.45 น. ดื่มกาแฟก่อน ถึงจะเริ่มต้นวันได้ – ปกติแล้ว ร่างกายคนเราจะผลิตคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความตื่นตัวเป็นจำนวนมากอยู่แล้วในช่วง 8.00 – 9.00 น. ร่างกายเราจะตื่นตัว หัวใจเราจะบีบแรง เลือดจะเข้าไปเลี้ยงสมอง และพร้อมสำหรับทำกิจกรรมไปทั้งวันอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มคาเฟอีนเข้าไป เพราะร่างกายจะจดจำว่าเรามีสิ่งกระตุ้นภายนอก มันก็จะลดการผลิตฮอร์โมนตามธรรมชาตินี้ออกไป ยิ่งทำให้รู้สึกเพลียหนักกว่าเดิมอีก
commons.wikimedia.org
08.00 น. สายแล้ว ข้าวเช้าขอรวบไว้ที่มื้อกลางวัน – มื้อเช้าสำคัญมากนะ ไม่ใช่แค่ทำให้อิ่มท้อง แต่มันจะช่วยทำให้ความเข้มข้นของเลือดเจือจาง และสามารถไหลเวียนเข้าไปเลี้ยงสมองได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำให้เราไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนด้วย เพราะคนที่ไม่ทานข้าวเช้า มีแนวโน้มว่าจะทานอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงในมื้อเที่ยงมากขึ้นนั่นเอว
09.45 น. เข้าทำงานสาย ไม่เป็นไร เจ้านายไม่ว่า – จริงอยู่ว่าบางที่ทำงาน ไม่มีใครมาคอยดุด่าว่าเตือนหรอกว่าวันนี้เธอมาสายนะ แต่รู้มั้ยว่าเขาไม่ได้ปล่อยปละละเลย เขากำลังจ้องมองเธออยู่อย่างเงียบๆ ต่างหาก ซึ่งจากการเข้างานสายบ่อย ในสายตาของเจ้านาย เธอจะกลายเป็นคนที่ใส่ใจต่อการทำงานน้อยกว่าคนที่มาตรงเวลาด้วย
09.50 น. เริ่มต้นทำงานง่ายๆ ก่อน – จริงอยู่ว่าการเริ่มต้นวันด้วยงานง่ายๆ งานยิบย่อยนั้นจะทำให้เรารู้สึกเหมือนมีพลัง มีกำลังใจที่จะทำงานต่อ แต่จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า พฤติกรรมแบบนี้จะทำให้ความตั้งใจในการทำงานและการควบคุมตัวเองลดน้อยลงเรื่อยๆ แน่นอนว่าช่วงบ่ายมา พลังก็คงไม่เหลือแล้ว พาลให้ไม่อยากทำงานยากที่เก็บเอาไว้ช่วงบ่ายไปอีก
maxpixel.freegreatpicture.com
12.30 น. ทานมื้อเที่ยงที่โต๊ะทำงาน – หลายคนมักอาศัยการแวะซื้อตอนเช้ามานั่งทานมื้อกลางวันที่โต๊ะทำงาน จริงอยู่ว่ามันสะดวก แต่พฤติกรรมแบบนี้มีแต่ข้อเสียนะ หนึ่งเลยคืออ้วน และสองคือไม่ได้ใช้เวลาตรงนั้น สร้างมิตรภาพกับเพื่อนร่วมงาน อีกทั้งการนั่งจมอยู่แต่ที่โต๊ะทำงาน จะยิ่งทำให้พลังงานทุกอย่างลดลง ร่างกายได้พัก แต่ความรู้สึกน่ะไม่ได้พักไปด้วยเลยจริงๆ
www.pexels.com
13.30 น. ฟังเพลงไป ทำงานไป – เพลงจะช่วยทำให้มีความผ่อนคลายระหว่างทำงาน แต่จากผลการศึกษาพบว่าการฟังเพลงไป ทำงานไป จะทำให้เราทำงานลำบากกว่าเดิม เพราะเสียงจากเพลงจะไปรบกวนสมาธิของเรานั่นเอง แต่ถ้างานที่เรากำลังทำเป็นงานที่ต้องอยู่นิ่งๆ หรือมีความซ้ำไปซ้ำมา การฟังเพลงกลับจะทำให้เรารู้สึกกระตือรือล้นมากขึ้นได้
17.30 น. เหนื่อยแล้ว ออกกำลังกายไม่ไหวแล้ว – ไหนใครเหนื่อยกับงาน แล้วถึงบ้านปุ๊บก็ถลาลงที่นอนปั๊บ รู้มั้ยว่าการออกกำลังกายไม่ใช่แค่จะช่วยให้เราหุ่นดี แต่มันจะทำให้เรามีความวิตกกังวลน้อยลงต่างหาก มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า โรคหัวใจด้วยนะ
21.00 น. เริ่มเอาหัวลงหมอน นอนเล่นมือถือ – งานอดิเรกสุดฮิตสมัยนี้ คงหนีไม่พ้นการโซเชียลก่อนนอนแบบชิลๆ รู้หรือไม่ว่าเจ้านี่ล่ะ ปัจจัยหลักเลยที่ทำให้เรานอนไม่หลับ เผลอๆ เช็กเฟสเล่นไปมา เจอสเตตัสใดๆ ก็สร้างความรู้สึกโกรธ หงุดหงิด โมโหหัวใจไปอีก แล้วแบบนี้มันจะนอนสงบได้ยังไงกันล่ะ พักผ่อนยังไงก็ไม่มีทางพอหรอก
www.pexels.com
23.00 น. เปิดโทรศัพท์ เปิดทีวีเอาไว้แล้วก็หลับ – แสงสีฟ้าที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ มีผลต่อการนอนหลับเป็นอย่างมากนะ เพียงนิดเดียวก็สามารถรบกวนการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินของร่างกาย ทำให้ไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ติดต่อกันทุกวันก็จะทำให้เป็นคนหลับยากขึ้นไปโดยปริยายเลยล่ะ
เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่กันมั้ยล่ะ แบบนี้มันแย่ ก็รู้แล้วนี่นา!