หลายคนมีปัญหาเรื่องการนอน และประเด็นใหญ่สุดคงเป็นการนอนไม่พอ เคยสงสัยกันมั้ยว่าทำไมกันนะ คืนก่อนนอนดึกตื่นเช้า คืนถัดมาก็อุตส่าชดเชยด้วยการนอนไวมากแล้วแท้ๆ แต่ปรากฎว่ามันกลับเพลียหนักกว่าเดิมด้วยซ้ำไป วิทยาศาสตร์มีคำอธิบายอยู่นะ และ Gangbeauty บอกเลยว่ามันไม่ใช่ความผิดใคร ของเธอล้วนๆ!
pixabay.com
มนุษย์มีนาฬิกาชีวภาพทางกาย อันเรียกว่าสมองส่วนไฮโปทาลามัส ที่คอยควบคุมระบบเมตาบอลิซึ่ม และระบบการทำงานของร่างกายอื่นๆ รวมถึงวงจรการนอนหลับ โดยมีแสงสว่างและความมืดเป็นตัวกำหนด นอกจากนี้เรายังมีนาฬิกาทางสังคมที่ถูกกำหนดเวลาโดยวัฒนธรรมและโครงสร้างทางสังคม ให้เราสามารถทำหน้าที่ได้ตรงเวลาตามรูปแบบของการใช้ชีวิต ซึ่งเจ้านาฬิกาสังคมนี่ล่ะที่เป็นตัวกำหนดให้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน
pixabay.com
ดังนั้นคนที่มีตารางชีวิตยุ่งเหยิง ทำงานไม่เป็นเวลา ใช้ชีวิตโต้รุ่งบ้าง หรือมีพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับแสงสว่างและความมืดตามธรรมชาติ จะทำให้เกิด “หนี้การนอน” เมื่อปล่อยให้นาฬิการ่างกายมีความสับสน ในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่เราไม่ได้ตั้งนาฬิกาปลุกเอาไว้ ร่างกายจึงปรับให้มีการพักผ่อนให้เพียงพอเป็นการใช้หนี้การนอนให้หมด เมื่อไหร่ที่เราตื่นนอนด้วยตัวเองโดยไม่ได้มีเสียงนาฬิกาปลุกชี้นำ นั่นคือการที่ร่างกายคำนวณหนี้การนอนกับนาฬิกาทางสังคมให้แล้วเรียบร้อย
www.flickr.com
สำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวเองขี้เกียจมาก นอนอืดทั้งวันในวันหยุดเพราะไร้เรี่ยวแรงจะลุกไปไหน นั่นอาจชี้ให้เห็นได้ว่านาฬิการ่างกายของเธอเดินช้าเกินไปจากการเกิดหนี้การนอนที่มากเกินตัว ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายจึงเสื่อมถอย โดยจะรู้สึกได้ชัดว่าในช่วงกลางสัปดาห์จะรู้สึกอยากนอนตลอดเวลา ส่วนเสาร์-อาทิตย์ก็จะใช้เวลานอนนานกว่าปกติ ทำยังไงก็ไม่กระปรี้กระเปร่า
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่เถอะ แล้วจะรู้สึกว่าชีวิตดีกว่าที่เป็นอยู่!