เวลาเรารู้สึกว่าตัวเองรุ่มร้อน เหมือนมีไข้ ส่วนใหญ่เราก็มักจะเดินไปเปิดตู้ยา เคาะยา “พาราเซตามอล” ออกจากขวดประมาณ 2 เม็ด ทานเสร็จก็นอน โดยที่ไม่ค่อยสำรวจส่วนอื่นของร่างกายว่าอาการไข้ของเรานั้นมีอาการใดร่วมด้วยบ้าง Gangbeauty อยากจะขอเตือนสักหน่อยว่าการเป็นไข้ ไม่ใช่แค่พาราเซตามอลแล้วจะหายทุกครั้งนะ มันอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้อะไรบางอย่างอยู่ก็ได้!
pxhere.com
โดยปกติแล้วการมีไข้ ไม่ใช่เรื่องอันตราย คล้ายเป็นแค่อาการที่ร่างกายกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียสที่จะเรียกว่าเป็นไข้ เพราะการที่อุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่านั้นก็เรียกว่าไข้ต่ำเช่นกัน และจะอันตรายมากหากอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 41.5 องศาเซลเซียส
pxhere.com
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การมีไข้ไม่ได้แก้ไขด้วยพาราเซตามอล 2 เม็ดแล้วก็จบแค่นั้น เพราะยังมีอาการร่วมอื่นๆ อีกมากมายที่ควรต้องสำรวจตรวจสอบให้แน่ชัด โดยเฉพาะอาการที่กำลังจะพูดถึง หากเป็นร่วมกันกับไข้ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำ ต้องรีบเข้าพบคุณหมอทันที
– ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
www.flickr.com
– มีผื่นขึ้นตามตัว เจ็บคอ ปวดศีรษะ คอแข็ง และ/หรือแขนขาอ่อนแรง
www.flickr.com
– หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก
– คอบวม หายใจไม่ออก
– ปวดท้องมาก
www.flickr.com
– มีอาการทางปัสสาวะ เช่น ปวดระหว่างปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด ปวดแสบขณะปัสสาวะ
– เป็นไข้ไม่ยอมลด 2-3 วันทั้งๆ ที่พักผ่อน ทานข้าว ทานยาสม่ำเสมอ
อย่ามองข้าม กันไว้ดีกว่าแก้นะจ๊ะสาวๆ!