ในปัจจุบัน มีคนรอบตัวเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาความเครียดในเรื่องส่วนตัวที่ยากจะหาทางระบาย ทำให้คนเหล่านั้นเก็บปัญหาไว้กับตัวเอง กลายเป็นความวิตกกังวลที่พัฒนาเป็นความซึมเศร้าในเวลาต่อมา ดังนั้นเมื่อคุณหรือคนรอบข้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จึงจำเป็นต้องมีวิธีในการแก้ไขอย่างเหมาะสม เพื่อให้โรคนั้นหายไป มาดูกันดีกว่าว่าเราะมีวิธีในการรับมือกับโรคซึมเศร้าอย่างไรได้บ้าง
1. หาใครสักคนเพื่อระบาย
การระบายความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความผิดหวัง เศร้า เสียใจ โกรธ ให้ใครสักคนได้ฟัง ถือเป็นทางออกเบื้องต้นที่จะช่วยให้ผู้ป่วยซึมเศร้า รู้สึกโล่งมากขึ้น ดังนั้น เมื่อคุณกำลังอยู่ในภาวะที่อาจจะเป็นโรคซึมเศร้า ควรหาใครสักคนข้างกายในการระบายความรู้สึกนั้นเพื่อให้เขาได้รับรู้ปัญหาของคุณ
2. ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น
ปัจจัยหลักที่ทำให้อาการซึมเศร้ากำเริบหนักมากขึ้นก็คือ การโทษตัวเองของผู้ป่วย นำมาซึ่งความรู้สึกผิดในใจที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ตามมา เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกผิด เสียใจหรือโทษตัวเอง ให้คุณกลับมาคิดทบทวนและท่องเอาไว้เสมอว่า ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ และยอมรับในสิ่งตัวเองเป็น ยอมรับทั้งในข้อดีและข้อเสีย พร้อมหาแนวทางแก้ไข จะช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ที่ผิดหวังและเสียใจได้ดีขึ้น
3. หัวเราะออกมาบ้าง
เมื่อใดก็ตามที่คุณเกิดเครียดหรือกังวลใจมากๆ ให้คุณเลือกวิธีระบายความรู้สึกนั้นออกมาด้วยการหัวเราะออกมา โดยคุณอาจจะเลือกดูหนังตลก หรืออ่านเรื่องขำขัน เพื่อช่วยทำให้คุณรู้สึกอารมณ์ดีมากขึ้น ซึ่งการหัวเราะนั้นจะช่วยให้ความเครียดของคุณหายไปอย่างน้อย 50%
4. ออกกำลังกายในเวลาว่าง
การออกกำลังกายเป็นวิธีแก้ไขโรคซึมเศร้าที่ได้ผลมากทีเดียว เพราะการออกกำลังกายนั้นจะเป็นการช่วยเพิ่มระดับของสารเซโรโทนินในสมอง และยังช่วยทำให้สารเอนโดฟินหลั่งออกมามากขึ้น ส่งผลให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและลดความตึงเครียดในจิตใจได้เป็นอย่างดี
5. หางานอดิเรกทำ
อย่าปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับความเศร้า และเก็บตัวอยู่ในห้องแต่เพียงลำพัง เมื่อไรก็ตามที่คุณรู้สึกเครียด เหงา ผิดหวัง เสียใจ ให้ลองมองหางานอดิเรกสักอย่างทำในช่วงเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ ทำอาหาร วาดรูป กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้คุณลืมความเครียดต่างๆ ไปได้ อีกทั้งยังทำให้คุณเกิดความผ่อนคลายมากขึ้นด้วย
ทั้งหมดนี้ก็คือ 5 เคล็ดลับในการรับมือกับโรคซึมเศร้า โรคที่เป็นแล้วก็หายได้ เพียงนำเอาเทคนิคเหล่านี้ไปลองปรับใช้กันดู ซึ่งเทคนิคที่เรานำมาฝากนั้น เป็นวิธีที่กรมสุขภาพจิตแนะนำมาแล้วว่าสามารถใช้บำบัดโรคในกลุ่มผู้ป่วยซึมเศร้าได้อย่างเห็นผล