โดยส่วนใหญ่แล้ว คนเรามักจะไม่ค่อยคำนึงถึงสิ่งใดเวลาซื้อน้ำดื่มจากร้านสะดวกซื้อ ก็แค่จ่าย รับขวด แล้วดื่ม ซึ่งความเป็นจริงแล้วนั้น เรื่องของขวดน้ำเป็นเรื่องที่ควรเอาใจใส่ให้มาก นอกจากฉลากที่บอกยี่ห้อของน้ำดื่ม ใต้ขวดพลาสติกเหล่านี้ Gangbeauty อยากให้เธอลองสังเกตกันดูว่ามันจะมีเครื่องหมาย 3 เหลี่ยมและพิมพ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษเอาไว้ด้วย สิ่งนั้นล่ะที่จะเป็นการบอกประเภทและการใช้งานของขวด ซึ่งมีความเชื่อมโยงโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายของเธอเองนะ!
1. PET หรือ PETE เป็นขวดพลาสติกที่มักบรรจุน้ำดื่มวางขายตามท้องตลาดทั่วไป ฉลากนี้บ่งบอกว่าขวดน้ำที่เรากำลังถือดื่มอยู่นี้ เป็นขวดที่สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หลังจากนั้น ถ้าเรานำไปล้าง หรืออบด้วยความร้อน มันจะปล่อยโลหะหนักและสารเคมีต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายของเรา ต่อให้นำมาใช้ซ้ำโดยไม่นำไปขัดถู จริงอยู่ว่าจะไม่โดนสารเคมีปนเปื้อนจากขวด แต่ฝูงแบคทีเรียมากมายก็อาจเล่นงานเราได้เหมือนกัน
en.wikipedia.org
en.wikipedia.org
2. HDP หรือ HDPE เป็นสัญลักษณ์ตัวอักษรที่บ่งบอกถึงความปลอดภัยของขวดพลาสติกนั้น บ่งบอกว่าขวดพลาสติกนั้นสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ไม่ปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายออกมา ส่วนใหญ่มักมีสีขาวขุ่น โปร่งแสง และมีความทนทานต่อสารเคมี
3. 3V หรือ PVC เป็นขวดพลาสติกประเภทอันตราย เพราะสามารถปล่อยสารเคมีที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย มีผลกระทบทางสุขภาพและไม่ควรใช้เพื่อการบริโภคเข้าสู่ร่างกายโดยเด็ดขาด เพราะมักใส่สารเติมแต่งเพื่อให้ PVC มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งตะกั่ว แคดเมียม แบเรียม ซึ่งสามารถปนเปื้อนในอาหารได้หมด
4. LDPE เป็นพลาสติกประเภทที่มีความยืดหยุ่นสูง ทนความร้อนไม่ได้มาก แต่ทนสารเคมีได้ เหมาะแก่การนำไปทำประโยชน์มากมาย สามารถรีไซเคิลได้ มักผลิตเป็นถุงหูหิ้ว และขวดพลาสติกบางชนิด ข้อควรระวังคือพยายามอย่าใช้ LDPE ที่ผสมสีเด็ดขาด โดยเฉพาะกับอาหารเพราะสามารถปล่อยสารเคมีปนเปื้อนได้โดยตรง
commons.wikimedia.org
5. PP เป็นพลาสติกสีขาว หรือกึ่งโปร่งแสง ซึ่งนิยมนำไปทำเป็นอุปกรณ์สำหรับแพทย์ เพราะสามารถทนความร้อนของการอบฆ่าเชื้อได้ และนิยมนำไปผลิตเพื่อบรรจุน้ำเชื่อม โยเกิร์ตต่างๆ หลอดดูดน้ำ โดยข้อควรระวังคือหากเจอ PP กับสิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการบริโภคเข้าสู่ร่างกาย ต้องห้ามมีการผสมสีเด็ดขาด
www.stripsmeteenhart.org
6. PS เป็นพลาสติกน้ำหนักเบา เปราะบาง ยืดหยุ่นได้ แต่ก็อาจเกิดสารก่อมะเร็งได้ด้วยเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ มักเป็นอะไรที่ใช้แล้วทิ้ง เช่น จานโฟม ถ้วยโฟม หรือถาดพลาสติกใส่อาหารลวดลายต่างๆ เป็นต้น
commons.wikimedia.org
7. PC หรือไม่มีสัญลักษณ์แปะอยู่เลย เป็นพลาสติกประเภทที่นิยมใช้ในการผลิตขวดนมเด็ก แต่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักผสมสาร BPA ลงไปเพื่อทำให้มีความใส จาก PC ธรรมดาจึงกลายเป็น PC ที่น่าสงสัยว่าจะสามารถก่อมะเร็งและโรคอื่นๆ ได้ ดังนั้นหากพบเห็นสัญลักษณ์ PC ให้พยายามเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น
สรุปง่ายๆ คือถ้าผสมสีเมื่อไหร่ พยายามอย่าใช้ดื่มหรือกินเลยนะ!