คุณไม่ใช่คนเดียวที่กำลังประสบปัญหาเรื่องปัญหากลิ่นปาก และปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่า ‘น้ำยาบ้วนปาก’ เป็นตัวช่วยในการขจัดสิ่งสกปรกบริเวณที่การแปรงฟันหรือไหมขัดฟันเข้าไม่ถึง เพราะการที่เศษอาหารตกค้างตามซอกฟัน สิ่งนี้แหละคือศัตรูตัวฉกาจที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดกลิ่นปาก โดยการก่อตัวของแบคทีเรีย การดูแลความสะอาดช่องปาก และ การใช้ตัวช่วยอย่างน้ำยาบ้วนปากเข้ามาเสริม จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม! ซึ่งการใช้น้ำยาบ้วนปากก็ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภทและถูกวิธี เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับช่องปากในภายหลัง
cr. freepik.com
ประโยชน์ของน้ำยาบ้วนปาก
- ช่วยให้ลมหายใจและปากสดชื่น และช่วยระงับกลิ่นปาก
- ทำให้ฟันขาวขึ้น
- ช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปากหรือเหงือกอักเสบ
- ลดการเกิดฟันผุ
- มีฟลูออไรด์ หรือสารที่ช่วยลดคราบหินปูน
- บรรเทาอาการปวดเฉพาะจุดในช่องปาก
- บรรเทาอาการต่าง ๆ จากภาวะปากแห้งเนื่องจากน้ำลายน้อย
วิธีการเลือกน้ำยาบ้วนปากให้เหมาะกับตัวเอง
วิธีการเลือกน้ำยาบ้วนปากให้เหมาะกับตัวเอง อันดับแรกควรเลือกตามคุณสมบัติที่จำเป็นต่อช่องปากของคุณ เช็คช่องปากตัวเองว่ามีปัญหาเรื่องไหน แล้วเลือกซื้อส่วนผสมที่ตอบโจทย์ปัญหาเหล่านั้น เพราะส่วนผสมเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้น้ำยาบ้วนปากมีประสิทธิภาพ เช่น
- ถ้ากังวลเรื่องคราบบนผิวฟัน แนะนำให้หาเลือกน้ำยาบ้วนปากที่ช่วยเรื่องฟันขาว หรือที่มีส่วนผสมของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือ
- หากมีปัญหาฟันผุ ควรเลือกน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์อย่างเข้มข้น
- หากคุณไม่ชอบความรู้สึกแสบ ๆ ในช่องปากขณะที่ใช้น้ำยาบ้วนปาก ให้เลือกชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
- น้ำยาบ้วนปากที่ปราศจากแอลกอฮอล์มักมีส่วนผสมอย่าง เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ เพื่อช่วยระงับปัญหากลิ่นปาก
ใครที่เลือกน้ำยาบ้วนปากตัวเก่งของเราได้แล้ว อย่าลืมใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ทั้งในตอนเช้าและก่อนนอน หากมีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
เทคนิค/ข้อควรระวังในการใช้น้ำยาบ้วนปาก
- การใช้น้ำยาบ้วนปากสามารถใช้ได้ทั้งก่อนและหลังแปรงฟัน
- เวลาใช้ควรกลั้วให้ทั่วปากแล้วอมทิ้งไว้ประมาณ 30-60 วินาที ไม่ควรนานเกิน 1 นาที
- ไม่จำเป็นต้องบ้วนน้ำเปล่าตามหลังการใช้น้ำยาบ้วนปาก
- ความถี่ในการใช้ควรขึ้นอยู่กับสาเหตุที่คุณใช้น้ำยาบ้วนปาก หากต้องการให้ฟันสะอาดหรือลดการเกิดคราบแบคทีเรียระหว่างวัน แนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากวันละ 2 ครั้ง
- ถ้าต้องการประโยชน์จากฟลูออไรด์ ใช้เพียงวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอ
- หากใช้น้ำยาบ้วนปากเยอะเกินปริมาณ ส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปากบางชนิด เช่น คลอร์เฮกซิดีน และเอทิลแอลกอฮอล์ อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ตามมาได้
- ใครที่ใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นกิจวัตร แต่ปัญหาต่าง ๆ ยังไม่หมดไป เช่น เรื่องกลิ่นปาก ควรปรึกษากับทันตแพทย์ เพราะกลิ่นปากอาจเกิดจากอาการเจ็บป่ทางช่องปากอื่น ๆ เช่น ปัญหาเหงือกอักเสบหรือฟันผุ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้น้ำยาบ้วนปาก นอกจากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีเท่านั้น
- ข้อควรระวังสำหรับคนท้อง: แพทย์อาจแนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ แต่หากคนท้องมีปัญหากับการควบคุมคราบจุลินทรีย์ แพทย์อาจแนะนำน้ำยาบ้วนปากที่มีสารต้านจุลชีพ (Antimicrobial) หรือสารต้านแบคทีเรีย (Antibacterial) มากกว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์
- ข้อควรระวังสำหรับเด็ก: น้ำยาบ้วนปากไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เพราะเด็กอาจจะกลืนเข้าไปและเกิดอาการคลื่นไส้ตามมาได้
เห็นแล้วว่าการเลือกน้ำยาบ้วนปากที่เหมาะสมกับช่องปากของเราไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพียงรู้ถึงแก่นปัญหาและเลือกส่วนผสมที่ตอบโจทย์เท่านั้นก็เพียงพอ อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าน้ำยาบ้วนปากเป็นเพียงตัวเสริมให้สุขภาพช่องปากดีขึ้น ไม่สามารถทดแทนการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันได้ ใครกำลังหาน้ำยาบ้วนปากคู่ปากคู่ใจ เลือกช้อปคุ้ม ๆ และสั่งได้เลยที่ Shopee