ปลาดิบ ถือเป็นอาหารที่เราได้รับอิทธิพลของอาหารญี่ปุ่น เพราะคนไทยในปัจจุบันเริ่มหันมาทานอาหารญี่ปุ่นกันมากขึ้น ทั้ง ซูชิ และ ซาซิมิ แต่เชื่อหรือไม่ว่ากว่าปลาพวกนี้จะผ่านขั้นตอนการนำเข้ามาในประเทศ ต้องมีขบวนการแช่เย็น และ จำหน่ายอย่างถูกวิธี เพราะอากาศบ้านเราค่อนข้างร้อน ทำให้ส่งผลเสียต่อปลาได้ ซึ่งปลาดิบอาจมีพยาธิเกิดขึ้น และเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ แต่เมื่อรู้ตัวอีกทีก็มีแผลในแผลกระเพาะอาหาร และ ลำไส้แล้ว ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด
ชนิดปลาดิบ มี 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ปลาดิบน้ำจืด และ ปลาดิบน้ำเค็ม (ปลาดิบทะเล)
1. ปลาน้ำเค็ม มีพยาธิน้อยกว่าปลาน้ำจืด อาหารญี่ปุ่นมักทำจากปลาน้ำเค็มเป็นส่วนใหญ่ และจะพบพยาธิอะนิซาคิส (ตัวอ่อน) แอบแฝงมากับปลาดิบด้วย
2. ปลาน้ำจืด หากเรา กินปลาดิบ มักพบพยาธิจำพวก พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิใบไม้ลำไส้ พยาธิตัวจี๊ด ฯลฯ ซึ่งหากเข้าสู้ร่างกายอาจะทำให้เกิดความรุนแรงถึงชีวิตได้
ซึ่งปลาดิบทั้ง 2 ชนิด มีเชื้อโรคที่แอบแฝงมาแตกต่างกัน ปลาดิบน้ำจืด อาจพบพยาธิบางชนิดแอบแฝงมา เช่น พยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิใบไม้ลำไส้ ฯลฯ คนส่วนมากมักคิดว่า
-ปลาน้ำเค็มนั้นไม่มีพยาธิ แต่ในความจริงในปลาน้ำเค็มนั้นอาจพบ ตัวอ่อนของพยาธิอะนิซาคิส (Anisakis simplex)ได้ แต่โชคดีที่การพบพยาธิในปลาน้ำเค็มนั้นพบน้อยกว่าในปลาน้ำจืดมาก และ พยาธิในปลาดิบน้ำเค็มก็มีความรุนแรงน้อยกว่าด้วย นอกจากนี้ปลาดิบที่นำมาประกอบอาหารญี่ปุ่นมักจะทำจากปลาน้ำเค็ม
สิ่งที่เราควรต้องทำก็คือ ปรุงอาหารให้สุก หรือ นำปลาดิบไปผ่านความร้อนมากกว่า 60 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 5 นาที ก่อนนำไปประกอบอาหาร ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้พยาธิชนิดดังกล่าวตายได้
จะเห็นแล้วว่า การรับประทาน อาหาร จะใส่ใจเพียงเรื่องรสชาติเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องเรียนรู้ที่จะศึกษาข้อมูลและใส่ใจในเรื่องวัตถุดิบและกรรมวิธีการประกอบอาหารอย่างถูกสุขอนามัย จึงจะรับประทานอาหารได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง