ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ในชีวิตคนเราเกิดขึ้นจากหลายประการ ทั้งตัวเราเอง สิ่งแวดล้อม มิตรดีที่ดี การให้กำลังจากครอบครัว ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลในอนาคตทั้งสิ้น ลองมาดูกันว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จ หลักๆ นั้นมีอะไรบ้าง
การคิดบวก
คำว่า “ทำไม่ได้” “ไม่แน่ใจ” “อย่าดีกว่า” “จะไหวหรือ” “ไม่กล้าหรอก” ฯลฯ คำเหล่านี้เปรียบเสมือนใบมีดอันคมกริบที่จะ ตัดแขนงใยประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองส่วนรับกับสมองส่วนสั่งการ ให้ขาดสะบั้นออกจากกัน นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเรียนรู้ขนาดไหน ก็ไม่มีทางสร้างผลผลิตจากความรู้นั้นออกมาได้ หรือแม้แต่จะสอน สิ่งที่ตัวเองรู้ให้คนอื่นเข้าใจก็ยังทำไม่ได้ เพราะการสอนต้องพูด ใช้ท่าทางประกอบ ซึ่งต้องอาศัยสมองส่วนสั่งการ
การคิดลบทำให้เกิดความกลัว ซึ่งจะบั่นทอนแรงบันดาลใจ อย่างรุนแรง แม้ว่าความกลัวจะมีประโยชน์ในการสร้างแรงขับ เช่น กลัวสอบตกทำให้ขยันอ่านหนังสือ แต่พลังอันเกิดจากความกลัว ไม่มีประโยชน์ เพราะเป็นพลังที่มีพื้นฐานมาจากการขาดสติ ยิ่งกลัว ยิ่งขาดสติ นอกจากนั้นแรงขับอันเกิดมาจากความกลัวยังไม่ยั่งยืน เช่น นักกีฬาที่ลงแข่งด้วยความกลัวแพ้ เขาจะขอแค่เสมอก็พอใจ แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีจิตที่มุ่งมั่นต่อชัยชนะ เมื่อขาดจิตที่มุ่งมั่น ในที่สุด ก็จะจบลงด้วยความพ่ายแพ้
ความเชื่อมั่น
เฮนรี ฟอร์ด ยอดนักคิดและอดีตมหาเศรษฐีอันดับหนึ่ง ของโลก เคยกล่าวไว้ว่า “ไม่ว่าคุณคิดว่าคุณทำได้หรือทำไม่ได้ คุณ ก็คิดถูกทั้งนั้นแหละ” ประโยคนี้หมายความว่า ถ้าคุณคิดว่าทำได้ คุณก็จะทำได้จนสำเร็จ แต่ถ้าคุณคิดไว้ก่อนแล้วว่าทำไม่ได้ คุณ ก็จะทำไม่ได้จริงๆ
หลายคนอาจเคยไปที่วัดบางแห่ง แล้วมีรูปปั้นเสี่ยงทายให้ลอง ยกขึ้น ถ้ายกขึ้นก็หมายถึงคำอธิษฐานที่ขอไว้จะเป็นจริง รูปปั้นนี้ อาจจะเป็นรูปช้าง ม้า หรือก้อนหินธรรมดา แต่ค่อนข้างหนัก ถ้าเป็น เด็กเล็กๆ จะยกไม่ขึ้น แม้แต่ผู้ใหญ่ที่ไม่ตั้งใจก็ยกไม่ขึ้น ความจริง แล้วเรื่องการยกรูปปั้นเป็นเพียงกุศโลบายที่ต้องการทดสอบความ มีจิตมุ่งมั่นต่อคำอธิษฐานนั้น ถ้าตั้งใจจริงจะยกขึ้นทุกคน นั่นก็ หมายความว่า คำอธิษฐานจะเป็นจริงได้ก็เพราะพลังจิต พลังกาย ของตัวผู้อธิษฐานเอง เมื่อยกขึ้น ประกอบกับความศรัทธา ทำให้ เกิดความเชื่อมั่น เกิดแรงบันดาลใจที่จะพาตนไปสู่สิ่งที่หวังไว้ และ ประสบความสำเร็จในที่สุด
หาหุ้นส่วน
หุ้นส่วนที่ดีจะต้องมีความถนัดและทักษะแตกต่างกัน เช่น คนหนึ่งอาจจะไม่ยอมเข้างานสังคม ถนัดงานวิจัยและวางแผน แต่ หุ้นส่วนอีกคนชอบเข้าสังคม ถนัดงานด้านการตลาด ทั้งสองคนจะช่วย เติมเต็มส่วนที่ขาดซึ่งกันและกัน
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จล้วนต้องมีคนใกล้ชิดที่เรียกกันว่า มือขวาเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป บิล เกตส์ จะไม่สามารถสร้างไมโครซอฟท์ได้ยิ่งใหญ่เท่านี้ ถ้าขาดพอล อัลเลน เพื่อนสนิทที่รู้ใจซึ่งเปรียบเสมือนมือขวา และสตีฟ บอลเมอร์ เพื่อน คู่คิดที่ชอบออกงานสังคม ชอบติดต่อธุรกิจ ที่เปรียบเสมือนมือซ้าย
แสวงหาคนเก่ง
ตามทฤษฎีทางจิตวิทยา คนเราทุกคนจะมีลักษณะเฉพาะตัว ที่เปลี่ยนแปลงยากมาก ดังนั้น การเปลี่ยนงานให้เข้ากับนิสัยคน จะง่ายกว่าการพยายามเปลี่ยนนิสัยคนให้เข้ากับงาน หรืออย่าไป เปลี่ยนเป็ดให้เป็นไก่ แต่จงใช้เป็ดอย่างที่เป็ดเป็น บริษัทแห่งหนึ่ง จึงมีนโยบายว่า “เราจะไม่สอนคนของเราให้ขยัน เพราะเราจ้าง คนขยันเข้ามาทำงาน”
นอกจากนั้นการรู้จักแสวงหาคนเก่งมาร่วมงานก็เป็นสิ่งจำเป็น สโมสรฟุตบอลใหญ่ของยุโรปจะมีทีมงานที่เรียกว่า แมวมอง คอย ไปซื้อตัวนักฟุตบอลเก่งๆ ของทีมต่างๆ ทั่วโลก แม้จะมีค่าตัวเป็น พันล้าน ถ้าเก่งจริง สโมสรก็ยอมจ่าย การรู้จักดึงคนเก่งมาอยู่ด้วย คือเคล็ดลับสู่ความสำเร็จอย่างหนึ่ง
ช่างสังเกต
มีผู้คนจำนวนมากที่เดินทางผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอยู่ทุกวัน แต่ถ้าเราไปถามคนเหล่านั้นว่า บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์มีรูปปั้น จำนวนเท่าใด ท่านเชื่อหรือไม่ว่าส่วนใหญ่จะตอบผิด
การสังเกตนี่เองที่ทำให้คนเราแม้จะได้พบประสบการณ์เดียวกัน แต่ก็เรียนรู้และแปลความหมายจากประสบการณ์นั้นได้แตกต่างกัน
สมัยที่มาร์โก แวน บาสเทน นักฟุตบอลชั้นนำของโลกยัง โด่งดัง เขามีคุณสมบัติที่แตกต่างจากนักฟุตบอลกองหน้าทั่วไป คือ มักจะยืนในตำแหน่งที่ลูกฟุตบอลลอยมาตรงศีรษะแล้วโหม่งเข้าประตู อย่างสวยงาม หลายคนมองว่าเขาโชคดี ความจริงแล้วการที่เขายืน ถูกตำแหน่ง ถูกเวลา เกิดจากการสังเกตเห็นช่องโหว่ของกองหลัง คู่ต่อสู้
ขยันและอดทน
ถ่านกับเพชรมีองค์ประกอบภายในเหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต่างกันที่เพชรเคยผ่านความกดดันอย่างมหาศาล ถ้าไม่มีความ กดดันเพชรก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่นเดียวกับความสามารถในการเดินเรือ ของชาวไวกิ้งก็เกิดขึ้นมาได้เพราะความบ้าคลั่งของท้องทะเล
บางครั้งสิ่งที่ลงทุนลงแรงไปยังไม่แสดงผลออกมาอย่างเป็น รูปธรรม แต่ความจริงแล้วกำลังสะสมศักยภาพอยู่ภายใน เพียงรอ วันเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นเอง เปรียบเสมือนไข่ที่กำลังฟัก เมื่อมอง จากภายนอกจะแยกไม่ออกว่าไข่ฟองไหนใกล้จะฟักเป็นตัวมากกว่า
เรามักจะมองไปที่ความสำเร็จสุดท้ายของคนที่มีชื่อเสียงแล้ว หรือประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน แล้วมานั่งคิดว่า ทำอย่างไรตัวเองจึงจะได้แบบนั้นบ้าง โดยที่ไม่ได้ดูความพยายาม ความอดทนอย่างเหนือมนุษย์ของผู้ประสบความสำเร็จเหล่านั้น กว่าเฮนรี ฟอร์ด จะสร้างรถยนต์คันแรกที่วิ่งได้จริงๆ เขาหมกตัว อยู่กับเครื่องยนต์ถึง 17 ปี กับการทดลองที่ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า จนเพื่อนบ้านมองว่าเขามีอาการผิดปกติทางจิต