ใครที่มีอาการ เจ็บส้นเท้าหรือผ่าเท้า หรือปวดเป็นเวลานั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ ทั้งน้ำหนักตัวมากเกิน ผู้ที่เป็นโรคอ้วน นักวิ่งที่ต้องใช้เท้ามากๆ หรือแม้แต่เดินเป็นเวลานาน ก็สามารถเกิดอาการปวดเท้าได้ วันนี้ gangbeauty จึงได้นำวิธีแก้อาการปวดเท้าหลากหลายวิธีให้เลือกปฏิบัติกันค่ะ ทั้งยังเป็นวิธีง่ายๆที่เราสามารถทำได้เองง่ายๆค่ะ
1. พาดขาบนเก้าอี้หรือหมอน
หากสามารถหาเก้าอี้สักตัวหรือพื้นต่างระดับที่เราจะสามารถพาดขาได้สูงประมาณ 45 องศาจากพื้นได้ ก็จัดเพื่อคลายอาการปวดเมื่อยขาและเท้าได้เลยค่ะ เพราะการยกขาให้สูงกว่าระดับลำตัวจะช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวกยิ่งขึ้น ช่วยลดอาการปวดบวมที่เท้าได้ และยังช่วยให้เลือดจากขากลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้นอีกด้วย ดังนั้นเราก็พักเท้าสัก 5-10 นาทีไปเลย
2. แก้ปวดขา น่อง และแก้ปวดหลังด้วยโยคะท่ายืดตัวก้มหน้า
เริ่มจากท่านอนคว่ำ แยกขาให้เท่าช่วงไหล่ แล้วค่อยๆ ดันตัวขึ้นจนสุด ให้มีลักษณะเหมือนตัว V คว่ำ โดยใช้มือและเท้ายันไว้ จากนั้นยกส้นเท้าขึ้นและวางลงสลับกันจนครบ 10 ครั้ง แล้วทำซ้ำกับขาอีกข้าง ท่านี้จะช่วยคลายกล้ามเนื้อส่วนหลัง ต้นขา น่อง และเอ็นร้อยหวายไปพร้อมๆ กัน ได้รู้วิธีแก้ปวดเท้า ปวดน่อง ปวดส้นเท้าหลังจากเดินเยอะๆ ยืนนานๆ กันไปแล้ว ก็ลองนำไปบรรเทาอาการกันนะคะ และนอกจากนี้เรายังมีวิธีป้องกันอาการปวดเท้า เมื่อยขาหากต้องยืนนานๆ หรือเดินมาราธอนมาฝากด้วย
3. ใช้สมุนไพรแช่น้ำ
3.1 เถาเอ็นอ่อนแห้งบด 50 กรัม (ลดอาการปวดเมื่อย คลายเส้น)
3.2 เถาวัลย์เปรียงแห้งและบดแล้ว 50 กรัม (ลดอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ)
3.3 ขมิ้น ไพล ว่านนางคำ แห้งบดแล้ว อย่างละ 25 กรัม การบูร 50 กรัม (รักษาแผล ลดอาการปวดเมื่อยตามปลายประสาท แก้ลมวิงเวียน)
3.4 เกลือ 50 กรัม (ฆ่าเชื้อโรค ทำให้ตัวยาดูดซึมเข้าผิวหนังได้ดี)
4. นวดฝ่าเท้าด้วยขวดน้ำเย็น
สำหรับคนที่รู้สึกปวดฝ่าเท้ามากๆ ลองใช้น้ำเย็นนวดฝ่าเท้าในเบื้องต้นก่อนก็ได้ค่ะ โดยวางเท้าลงบนขวดน้ำเย็นจัด แล้วใช้เท้าเลื่อนขวดน้ำไป-มา วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยบริเวณฝ่าเท้าได้ และยังอาจช่วยสลายพังผืดที่ฝ่าเท้าด้วยนะ หรือหากไม่ใช่ขวดน้ำเย็นก็สามารถใช้ลูกบอลแทนได้เช่นกัน
5. ยึดเหยียดเท้า 3 นาที
โดยการกระดก และเหยียดเท้าขึ้นลง 10 ครั้ง หมุนข้อเท้า สลับซ้ายขวา 5 รอบ ยืนกระเย่งเท้าสลับไปมา 10 ครั้ง วิธีการนี้ จะค่อยช่วยยืดกล้ามเนื้อ ให้คลายตัวขึ้น เลือดลมสามารถไหลเวียนได้สะดวก เพื่อนำสารอาหารมาเลี้ยง
6. เหยียบอิฐแดง
6.1 นำอิฐแดงไปเผาให้ร้อน แล้วนำใบพลับพลึงวางบนอิฐแดง หลังจากนั้นวางเท้าลงบนอิฐแดง แต่ทนร้อนหน่อย ทำวันละครั้งก้อได้ กินยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ล่ะก้อนวดฝ่าเท้าเดือนละ 2 ครั้ง
6.2 นำอิฐแดงไปเผาให้ร้อน แล้วนำหัวไชโป๊วแบบแห้งๆ วางบนอิฐแดงที่กำลังร้อน จากนั้นเอาส้นเท้าที่ปวด วางทาบบนไชโป๊วแล้วค่อยๆคลึงส้นเท้าบนไชโป๊วไปมา จนไชโป๊วเย็น ก็ทำใหม่อีก ทำอย่างนี้หลายๆครั้ง รับรองหายปวดแน่นอน เพราะผมทำมาแล้วได้ผล เป็นสูตรของคนจีนครับ
7. ใช้ Ice Packs
เป็นการใช้ความเย็นช่วยในการรักษาการอักเสบของเส้นเอ็น โดยนำ Ice packs เข้าไปประคบฝ่าเท้าหลังการทำกิจกรรมการยืดกล้ามเนื้อ เป็นเวลา 10-15 นาที
8. ใช้แผ่นรองรองเท้า
การใช้แผ่นรองรองเท้าที่ดีนั้นจะช่วยลดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้ากระทำกับเข้ากับพื้นรองเท้า ในกรณีที่ใช้แผ่นรองรองเท้าที่ทำแค่เฉพาะเท้าของผู้ป่วยนั้น ก็จะยิ่งช่วยลดแรงกระแทกได้ การใช้แผ่นรองรองเท้านี้จะสามารถช่วยอาการปวดให้ทุเลาลงได้ภายใน 3 เดือน แต่ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สำหรับการใช้แผ่นรองรองเท้านี้ ว่าสามารถจัดการกับอาการปวดได้ในระยะยาว
9. ใช้ Night Splints
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เท้าของผู้ป่วยอยู่ในตำแหน่งปรกติในเวลานอน และจะทำให้ช่วยขบวนการในการ รักษาตัวเองของเส้นเอ็น เป็นไปได้เร็วขึ้น และเมื่อผู้ป่วยตื่นขึ้นในตอนเช้าจะช่วยลดความเจ็บปวด ของส้นเท้าลง แต่ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัดเวลานอนเมื่อใช้ Night Splints เนื่องจากมีลักษณะที่เทอะทะ
ควรพิจารณาในการเลือกใช้ Night Splints ว่าผู้ป่วยควรจะมีอาการมามากกว่า 6 เดือนแล้ว สำหรับระยะเวลาในการใส่ก็ประมาณ 1-3 เดือน ชนิดของ Night Splints นี้ยังไม่ปรากฏรายงานว่าอันได้ดีกว่ากัน
10. การยืดกล้ามเนื้อ
ออกแรงดันกำแพงโดยที่ขาข้างที่ต้องการที่จะทำการยืดอยู่ด้านหลัง ให้ขาอีกข้างหนึ่งที่อยู่ด้านหน้างอ โดยที่ให้ส้นเท้าทั้ง 2 ข้างอยู่บนพื้น
ยืนด้วยฝ่าเท้าโดยให้ปลายเท้าอยู่บนบันไดขั้นที่สูงกว่า และพยายามนำส้นเท้ายืดลงด้านล่างของขั้นบันได้ให้ได้มากที่สุด
ใช้ผ้าหนาๆสอดไปใต้ฝ่าเท้าในท่าที่นั่งยืดขา ค่อยๆดึงผ้าจนกระทั่งรู้สึกตึงๆฝ่าเท้า