นาฬิกาชีวภาพ หรือนาฬิกาชีวิต เป็นสิ่งที่คอยควบคุมการทำงานของร่างกาย เริ่มตั้งแต่ตื่นมาตอนเช้ายันค่ำมืด ดึกดื่น และตื่นขึ้นมาตอนเช้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนาฬิกาชีวิตในร่างกายคนเราจะมียีนควบคุมเวลาซึ่งมีอายุการใช้งานถึง 120 ปี หรือตลอดอายุขัยที่แท้จริงของคน
นาฬิกาชีวิต สิ่งที่ธรรมชาติให้มาและกำหนดช่วงจังหวะไว้ค่อนข้างจะถาวรอยู่ การทำอะไรที่เป็นการฝืนกลไกธรรมชาติย่อมส่งผลกระทบกับร่างกายแน่นอน คนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำท่ามกลางแสงสว่างของไฟ จึงมีโอกาสพบกับความมืดของค่ำคืนได้น้อย ส่งผลให้สมองผลิตสารเมลาโทนินได้น้อยตามไปด้วย ส่วนคนที่ต้องสลับเวลาทำงานระหว่างกลางวัน – กลางคืน ทำให้ร่างกายฝืนกลไกธรรมชาติ ส่งผลให้จังหวะการเดินของนาฬิกาเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น นักบิน หรือแอร์โฮสเตทที่ต้องบินข้ามโซนเวลาที่แตกต่างกัน ร่างกายจึงอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และเครียดตามมา หรือที่เรียกว่า Jet Lag
จังหวะชีวิตที่เปลี่ยนไปเมื่อสะสมเป็นเวลานานๆ ร่างกายเกิดความเคยชินจนกลายเป็นเรื่องปกติได้ แต่จะส่งผลให้มีสารพิษตกค้างในร่างกาย อาการที่ตามมาคือขาอ่อนแรง เข่าเสื่อม ความจำลดลง ซึ่งทางแก้ก็คือ ฝึกระบบขับถ่ายให้สามารถขับถ่ายได้วันละหลายครั้ง เพื่อขับสารพิษออก การพอกตัวด้วยโคลน หรือการฝึกสมาธิก็ช่วยได้
ช่วงเวลาต่างๆของนาฬิกาชีวิต
01.00-03.00 น.
เป็นช่วงเวลาของตับ ทำหน้าที่ขับสารพิษออกจากร่างกาย สะสมอาหารสำรองให้กับร่างกาย ผลิตอินซูลิน ตลอดจนผลิตน้ำดีเพื่อเก็บไว้ย่อยไขมัน ถ้าช่วงนี้เรายังไม่นอน ร่างกายจะสูญเสียพลังงาน ตับจะอ่อนแอลงเนื่องจากต้องทำงานมากขึ้น ส่งผลกระทบถึงการทำงานของตับอ่อน ทำให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง และถ้าเราไม่นอนในช่วงเวลานี้เป็นประจำ อาจทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ
03.00-05.00 น.
เป็นช่วงเวลาของปอด ที่ฟื้นฟูเซลล์และขับสารพิษออกจากเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ถ้าตื่นนอนในช่วงนี้เป็นประจำปอดจะทำงานดี และส่งผลให้ผิวพรรณดีด้วย ส่วนคนที่สูบบุหรี่จนเป็นหอบหืด ไซนัส หรือทางเดินหายใจ มักถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาในช่วงนี้ด้วยอาการ ไอ จาม เนื่องจากปอดกำลังทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย
05.00-07.00 น.
เป็นช่วงเวลาของสำไส้ใหญ่ เราจึงควรออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยให้สำไส้ใหญ่ขยับตัว ทำให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น ถ้าไม่ถ่ายร่างกายจะดูดซึมของเสียเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้เกิดร่อยเหี่ยวย่นบนใบหน้า
07.00-09.00 น.
เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะกระเพาะทำหน้าที่ย่อยอาหารได้ดีที่สุด การกินอาหารในช่วงนี้ทุกวันจะทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง ถ้าไม่กินอาหารอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร เป็นโรคกระเพาะ ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก เพราะต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
09.00-11.00 น.
เป็นช่วงเวลาของม้าม ทำหน้าที่เก็บพลังงานสำรอง ควบคุมเม็ดเลือดและไขมัน สร้างน้ำเหลือง และกรองเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทุกชนิด ใครที่มีความกังวลอยู่บ่อยๆ ความกังวลจะทำให้ม้ามอ่อนแอและไม่สามารถขจัดเซลล์เม็ดเลือดตายออกได้ ถ้าเป็นผู้หญิงจะทำให้มดลูกบวมหรือหย่อน ถ้าเป็นผู้ชายจะส่งผลต่อต่อมลูกหมาก
11.00-13.00 น.
เป็นช่วงเวลาของหัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด คิดหนัก และไม่ควรให้มีอาการตื่นเต้นและตกใจ สำหรับคนที่ชอบนอนดึก คุณรู้หรือไม่ว่าจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกมากกว่าปกติ ร่างกายจึงต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ถี่ขึ้น แรงขึ้นและเร็วขึ้น ส่งผลให้เป็นความดันโลหิตสูงได้
13.00-15.00 น.
เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ดูดซึมอาหารที่เป็นน้ำ เช่น วิตามินบี ซี และโปรตีนเพื่อนำไปสร้างกรดอมิโนเพื่อใช้ในการสร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สำหรับผู้หญิงจะช่วยในการสร้างรังไข่ ช่วงนี้จึงควรงดกินอาหารทุกชนิด การกินของทอด ของมัน หรือขนม จะทำให้ลำไส้เล็กตอนบนไม่หลั่งด่างออกมาทำให้อาหารย่อยยาก และถ้ากินติดต่อกันนานๆ จะทำให้ลำไส้เล็กบวม มีแก๊สและดูดซึมยาก ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบกับสมองด้วย
15.00-17.00 น.
เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่ขับกรดและของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นของเสียที่ผ่านการแปรรูปมาจากลำไส้เล็ก ถ้าเราอั้นฉี่เป็นเวลานานๆ จะทำให้ปัสสาวะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่งผลกระทบถึงตาทำให้ตาพร่ามัว ถ้านานๆ ส่งผลให้ตาบอดได้
17.00-19.00 น.
เป็นช่วงเวลาของไต ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกระดูก ไขข้อ ฮอร์โมน อวัยวะสืบพันธ์ เส้นผม เลือด หูและตา การทำงานหนักโดยไม่ได้พักผ่อนจะทำให้ไตอ่อนแอและเสื่อมได้ โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ อาจทำให้แท้งลูก หรือถ้าไม่แท้งลูกก็อาจทำให้ลูกไม่แข็งแรง
19.00-21.00 น.
เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงนี้ควรพักผ่อน โดยเฉพาะการนั่งสมาธิ สวดมนต์ เพื่อให้หัวใจทำงานน้อยลง ถ้าไม่พักผ่อนในช่วงนี้จะทำให้เลือดข้น กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก ส่งผลให้หัวใจโต โดยเฉพาะคนที่ทำงานหรือเที่ยวกลางคืน
21.00-23.00 น.
เป็นช่วงเวลาพลังงานรวม จึงห้ามอาบน้ำเย็นในช่วงนี้ เพราะจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย ห้ามออกไปรับอากาศนอกบ้าน เพราะช่วงนี้ต้นไม้จะคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา จึงควรนอนหลับพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงทดแทนส่วนที่แตกไป ถ้าไม่พักผ่อนจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกมากขึ้นเรื่อยๆ สักเกตง่ายๆ คือ ถ้านอนดึกแล้วไปบริจาคเลือดจะทำให้เลือดลอย หรือเลือดจาง เนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดมีน้อยเกินไป ซึ่งทดสอบได้ด้วยการหยดเลือดลงในน้ำยา Copper Sulphate ถ้าเลือดเบากว่าน้ำยาก็จะไม่จม แต่ถ้าเป็นเลือดปกติเมื่อหยดลงบนน้ำยา เลือดก็จะจมในน้ำยา
23.00-01.00 น.
เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี มีหน้าที่ย่อยไขมัน เพื่อเปลี่ยนรูปเป็นฮอร์โมน กล้ามเนื้อ กระดูก ไขข้อ เส้นเอ็น ไขสมอง ตา และน้ำหล่อเลี้ยงในร่างกายทั้งหมด เป็นถุงเก็บน้ำย่อยสำรองที่ออกจากตับ และเมื่ออวัยวะใดในร่างกายขาดน้ำก็จะมาดึงจากถุงน้ำดี ถ้าไม่พักผ่อนในช่วงนี้จะทำให้ถุงน้ำดีข้น ไขมันตกตะกอนในตัวเรา เช่น มีถุงไขมันใต้ตา ลงพุง อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม และที่สำคัญทำให้ร่างกายขาดวิตามินเอ ดี อี เค ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน .”
ทำไมเราต้องนอนกลางคืน ตื่นกลางวัน?
-กลางคืนเป็นช่วงที่ต่อมไพเนียล (pineal gland) ซึ่งอยู่ในสมองส่วน Hypothalamus ถูกกระตุ้นจากความมืดให้มีการสร้างสารเมลาโทนิน เป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายนอนหลับ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและสะสมพลังงานเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน สารตัวนี้จะไม่มีการสร้างเลยถ้าดวงตาเราไม่พบกับความมืด ทำให้เราต้องนอนกลางคืน
-กลางวัน ดวงตาจะถูกกระตุ้นจากแสงแดดส่งผลให้ต่อมไพเนียลทำงานน้อยลง ระบบประสาทอัตโนมัติก็จะส่งสัญญาณให้ต่อมหมวกไต เพื่อให้สร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลไปกระตุ้นให้ร่างกายเตรียมเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น มีความตื่นตัว และกระฉับกระเฉงนั่นเอง