ด้วยเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ ทำให้ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์มีวิธีสังเกต และระบุได้ว่า เด็กคนไหนมีความเสี่ยงที่จะเป็นผู้ป่วยทางจิต หรือฆาตรกรต่อเนื่องได้ในอนาคต ตั้งแต่เด็กคนนั้นมีอายุเพียง 3 ปี น่าตกใจที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังไม่รู้เรื่องนี้ วันนี้ GangBeauty จึงนำข้อมูล 6 สิ่งที่ผู้ป่วยทางจิตส่วนใหญ่ เคยทำตอนวัยเด็กมาบอกกัน จะมีพฤติกรรมใดบ้างไปดูกันเลยค่ะ
1. ชอบแหกกฎ
ในขณะที่เด็กคนอื่นๆจะเรียนรู้ และเข้าใจได้ว่าการแหกกฎคือสิ่งที่ผิด แต่ในมุมมองของเด็กที่มีความเสี่ยงเป็นโรคจิต กลับคิดว่ากฎมีไว้แหก ยิ่งทำยิ่งสนุก ท้าทาย น่าตื่นเต้น ตัวอย่างคือ ตอนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่อง Harry Potter ที่เล่าถึงวัยเด็กของโวลเดอมอร์ ที่ขโมยของเล่นของเด็กคนอื่นมาเก็บไว้ เขาไม่ได้ต้องการของเล่น แต่เขาทำเพราะสนุกกับการได้มองดูคนอื่นต้องสูญเสียของสำคัญต่างหาก
2. เด็กขี้แกล้ง
ไม่ได้หมายความว่า เด็กขี้เเกล้ง เกเร หรือชอบรังแกคนอื่น โตมาจะเป็นโรคจิต แต่อยู่ในกลุ่มที่มีเเนวโน้มว่าจะเป็น หากอยู่ในปัจจัยที่เอื้ออำนวย เพราะลึกๆแล้ว เด็กกลุ่มนี้มีความสุขกับการเห็นผู้อื่นเจ็บปวด ยิ่งถ้าอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่ใช้ความรุนแรง ก็จะยิ่งเสี่ยงมากขึ้น
3. เก็บความรู้สึก
เด็กที่เก็บความรู้สึกได้เก่งเกินกว่าเด็กในวัยเดียวกัน จะไม่แสดงออกให้รู้ว่ากลัวอะไร เครียดเมื่อไหร่ บางครั้งก็ดูเหมือนไร้ความรู้สึก ไม่เคยเห็นใจผู้อื่น
4. ฉี่รดที่นอน
พฤติกรรมการฉี่รดที่นอน จะไปกระตุ้นพฤติกรรมความเสี่ยงอื่นๆ ทั้งการทารุณกรรมสัตว์ เผาสิ่งของ และอื่นๆตามมา เนื่องจากเด็กจะรู้สึกอับอาย ไม่พอใจ หรือโกรธ ยิ่งหากถูกพ่อแม่ดุว่าหรือล้อ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงมากขึ้น หนึ่งในฆาตรกรต่อเนื่อง 52 ศพ เป็นโรคฉี่รดที่นอนและมักถูกดุด่าทุบตี เมื่อโตมาเขาจึงมีความสุขกับการดูคนอื่นทรมาน
5. ทารุณกรรมสัตว์
ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ชัดเจนที่สุด เด็กที่ชอบทำร้ายสัตว์ ไม่ว่าจะเพื่อระบายอารมณ์ หรือเพราะความไม่รู้ และขาดการอธิบายให้เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ควรทำ จะทำให้เติบโตมาเป็นคนก้าวร้าว ชอบความรุนแรง
6. เผาให้วอด
เด็กที่เรียกร้องความสนใจ หรือระบายความโกรธด้วยการจุดไฟเผา โดยไม่สนว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร คืออาการของโรคไพโนมาเนีย เสี่ยงต่อการกลายเป็นคนโรคจิตได้ในอนาคต
นอกจากลองคิดเล่นๆ ว่าคุณเคยมีพฤติกรรมเหล่านี้ในวัยเด็กหรือไม่ อย่าลืมสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานของคุณ เพื่อหาแนวทางป้องกันหรือรักษาได้อย่างทันเวลา แต่ก็ไม่ใช่ว่าเด็กที่เสี่ยงจะต้องกลายเป็นโรคจิตทุกคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย สภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการเลี้ยงดูในช่วง 5 ปีแรกเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการ และสุขภาพจิตของเด็กๆ