พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตาม สวดมนต์ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล สวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล สวดมนต์เช้าเย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล สวดเต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล
อานุภาพการสวดมนต์ เสียงดัง สวดในใจ และเสียงสาธุการ
สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่น…พักอยู่บนดอยปะหร่อง (เชียงใหม่) กับพระอาจารย์มนู ตอนเช้าเที่ยวบิณฑบาต พอให้พรเสร็จ ท่านได้สอนให้ชาวบ้านกล่าวสาธุพร้อมกันด้วยเสียงสูง ท่าน (พระอาจารย์มั่น) เล่าเป็นเชิงตลกว่า มือทั้งสองข้างของเขาชูขึ้นข้างบนเหมือนบั้งไฟจะขึ้นสู่ท้องฟ้า ว่างั้น
วันหนึ่ง ท่านนั่งพักในส่วนที่ทำเป็นที่พักกลางวัน มีเทพพวกหนึ่งมาจากเขาจิตรกูฏ มาถามท่านว่า
“เสียงสาธุ สาธุนั้น สาธุอะไร สะเทือนสะท้านทุกวัน พวกเทพทั้งหลายได้ฟัง มีความสุขไปตามๆ กัน”
ท่านมาพิจารณาว่า เสียงอะไร ที่ไหน จึงระลึกได้ว่า เสียงสาธุการของชาวบ้านตอนถวายทานนั่นเอง
พอรับทราบแล้วพวกเทพก็กล่าวว่า “เขาก็สาธุการด้วย” แล้วทำประทักษิณเวียนขวาลากลับไป ส่วนมากพวกเทพเขาจะทำอย่างนั้น
ท่านพระอาจารย์มั่น เลยมาพิจารณาต่อได้ความว่า
พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตาม จะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์เช้า เย็น หรือชาวพุทธทุกคน
สวดมนต์ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล
สวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล
สวดมนต์เช้าเย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล
สวดเต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล
แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพ และที่สุดอเวจีมหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ผ่านลงไปถึงชั่วขณะชั่วครู่หนึ่ง ดีกว่า หาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล
นี้คืออานิสงส์ของพระพุทธมนต์ ท่านพระอาจารย์มั่นว่าอย่างนี้
หลวงพ่อคะ สวดมนต์แบบในใจ กับ สวดมนต์แบบออกเสียง อานิสงส์เท่ากันไหมคะ.?”
หลวงพ่อ : “ไม่เท่าหรอก เพราะมันเหนื่อยไม่เท่ากัน…. อานิสงส์ ถ้าแปลตามความหมายแปลว่า ผลที่พึงจะได้รับ ลีลาการสวดมนต์ในใจก็ไม่แน่ สุดแท้แต่คน บางคนนึกในใจ จิตเขาฟุ้งซ่านใช่ไหม…บางคนออกเสียงเหนื่อยเกินไป สวดในใจดีกว่า
ก็รวมความว่า สุดแล้วแต่ทำอย่างไหนจิตจะมีสมาธิดีกว่ากัน บางคนนึกในใจไม่ได้หรอก จิตฟุ้งซ่าน ต้องว่าออกเสียงดังๆ
ถ้าอย่างหลวงพ่อออกเสียงดังไม่ดี นึกในใจดีกว่า ก็สุดแล้วแต่คน นี่ผลก็ต้องอยู่ที่ว่าคนใดจิตมีสมาธิดีกว่า และสวดมนต์ได้ดีกว่ากัน ต้องถือตามนั้นนะ
การสวดมนต์มีอานิสงส์ใหญ่ สวดน้อยก็มีอานิสงส์ใหญ่ อานิสงส์ใหญ่จริงๆ อยู่ที่เจตนา จิตมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์จริง
และเวลาสวดมนต์ด้วยความเคารพจริง ถึงสวดน้อยก็มีอานิสงส์ใหญ่ ถ้าสวดมนต์ว่าเรื่อยเปื่อยไปไม่ได้ตั้งใจ ว่าส่งเดช อย่างนี้ว่ามาก ก็ยังมีอานิสงส์น้อย
ทีนี้ถ้าจะถามว่าสวดมนต์กับภาวนา อย่างไหนจะมีอานิสงส์มากกว่า ถ้าสวดมนต์ก็อยู่แค่อุปจารสมาธิ ถ้าภาวนาสั้นๆ จิตเป็นฌานได้ต่างกัน ทีนี้ถ้าคนภาวนาส่งเดชก็ไม่เป็นเรื่องเหมือนกัน แต่ภาวนาส่งเดชก็ดีกว่าไม่ภาวนาเลย ใช่ไหม….”
การทำกรรมมี ๓ ทาง คือ มโนกรรม(ทางใจ) , วจีกรรม(ทางวาจา) , กายกรรม(ทางกาย)
การสวดมนต์ คือการทำกรรมทางวาจา ที่เรียกว่า วจีกรรม จึงต้องมีการเปล่งเสียง ออกอักขระทางวาจา
การสวดมนต์ในใจ ไม่เรียกว่าการสวดมนต์ แต่เรียกว่า การบริกรรมภาวนา
ก็หุบปากอยู่เงียบกริบ แล้วจะเรียกว่า “สวด” ได้ไงกัน ?
ดังนั้น ในภาวะปกติ บุญของการสวดแบบบริกรรมย่อมน้อยกว่าการเปล่งเสียงแน่นอน
ยกเว้น คุณบริกรรมบทสวดมนต์ไปเรื่อยๆ จนได้จิตรวมเป็นสมาธิขึ้นมา แบบนั้นจึงจะได้บุญมากกว่าการสวดออกเสียง
อยู่ที่เจตนา ความตั้งใจในการสวด การนึกความคิดขณะสวดที่จะบูชาคุณพระรัตนตรัย
ควรเข้าใจความหมายด้วยจะดีที่สุด ใจที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิยิ่งนิ่งยิ่งได้บุญมาก