เดินสวนกับคนรู้จัก เห็นหน้าเขาแล้วรู้สึกคุ้นๆ แต่นึกชื่อไม่ออก ต้องทำเป็นเนียนๆ ส่งยิ้มให้ พลางคิดในใจว่า “คนคนนี้ชื่ออะไรนะ?” หรือ นั่งจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นชั่วโมงๆ คิดแล้วคิดอีก แต่ก็คิดงานไม่ออกสักที เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยพบเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้ ไม่ว่าใครก็อยากมีความจำที่ดี เพราะการมีความจำที่ดี และ มีสมองที่ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพจะช่วยให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มาดูเทคนิคการพัฒนาสมอง เพิ่มความจำ ให้กับตัวเรากันเถอะค่ะ
1. ทบทวนความทรงจำ
การพัฒนาสมองของเรา เริ่มต้นจากการฝึกฝน เราสามารถฝึกฝนสมองของเราได้ด้วยการฝึกทบทวนความทรงจำในชีวิตประจำวันของเราในทุกๆ วัน เช่น ลองนึกย้อนกลับไปว่าวันนี้ตลอดทั้งวัน เราทำอะไรบ้าง มีอะไรที่เราทำแล้วดี หรือไม่ดีอย่างไร ลองนึกถึงรายละเอียดปลีกย่อย เช่น มื้อก่อนหน้านี้ เรารับประทานอะไร แล้วนึกย้อนไปไกลกว่านั้นอีกว่า มื้อก่อนๆ หน้านี้ เรารับประทานอะไร นึกย้อนไปไกลขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นการทดสอบความจำของเรา
2.เล่นเกมเสริมความจำ
นอกจากการฝึกทบทวนความทรงจำแล้ว เรายังสามารถทดสอบความจำ และเพิ่มความสนุกด้วยการเล่นเกมเสริมความจำต่างๆ เช่น เกมเปิดไพ่ เลือกไพ่ที่มีลายตรงกันภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งได้ฝึกความจำ ฝึกกรใช้สายตา ได้ขยับกล้ามเนื้อมือแล้ว ยังสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียดได้อีกด้วย
3. ลำดับเหตุการณ์ด้วยการมองภาพรวม
เคยไหมอ่าน อ่านหนังสือมากมาย แต่สุดท้ายจำอะไรแทบไม่ได้เลย?
หากเราอยากจดจำรายละเอียดจากการอ่านให้ได้มากที่สุด ต้องเริ่มจากการ “อ่านให้ถูกวิธี” ด้วยการมองภาพรวมให้เห็นเสียก่อน เมื่อเรามองเห็นภาพรวมของหนังสือทั้งเล่ม หรือมองเห็นภาพรวมของเหตุการณ์ทั้งหมด เราจึงค่อยอ่านแบบเจาะลึก ลงรายละเอียดเรียงลำดับที่ละขั้นตอน หรือเรียงตามลำดับเหตุการณ์ (Timeline) เพื่อให้เราสามารถติดตามทำความเข้าใจกับเนื้อหาในแต่ละประเด็นได้อย่างเข้าใจ ไม่หลุดหรือหลงประเด็น ไม่สับสน จำสับสน สลับไปมา
การอ่านหนังสือให้เห้นภาพรวม เริ่มจากการอ่านท่องจำสารบัญ การอ่านสารบัญจะช่วยให้เราสามารถจับเนื้อหาทั้งหมดของหนังสือเล่มนั้นได้ ลดการอ่านอย่างสะเปะสะปะ และช่วยให้มองเห็นภาพรวมของเนื้อหา สามารถติดตามเนื้อหาและอย่างเข้าใจและเกิดความเชื่อมโยง ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งสารบัญหัวข้อใหญ่ และบทย่อย เพื่อให้ไม่สับสน และ ถือว่าเป็นการทบทวนตัวเองไปด้วย
4. ทำต่อเนื่อง
การฝึกฝนในเรื่องใดๆ ก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “การทำอย่างต่อเนื่อง” และ “มีวินัยต่อตนเอง”
5. ทบทวนสิ่งสำคัญผ่านการเขียน
วิธีการทบทวนบทเรียนความรู้ ด้วยการจดลงในกระดาษเปล่า เป็นกลยุทธ์ที่อัจฉริยะหลายๆ คนนิยมใช้กัน แม้จะฟังดูง่ายดายและแสนธรรมดา แต่ผลลัพธ์ของมันช่างยอดเยี่ยม เพราะการจดนั้น เท่ากับเป็นการทบทวนบทเรียน และพิมพ์ข้อมูลที่เรียนนั้นซ้ำในสมองของเรา เป็นวิธีเดียวกับการดึงข้อมูลในสมองมาใช้ตอนสอบ จึงเท่ากับว่าเหมือนเราได้ทบทวนบทเรียน และซ้อมการนำไปใช้จริงไปพร้อมๆ กัน
หากเราลองจดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ได้ในแต่ละวันออกมาจริงๆ เราจะพบว่า หลายครั้งที่เราคิดว่าเรารู้ หลายครั้งที่เราคิดว่าเราจำได้นั้น ที่จริงแล้วแทบไม่มีใครสามารถจดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ทั้งหมดออกมาได้จริงๆ หรอก แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่เป็นไร เพราะถึงจะไม่สามารถจดออกมาได้ทั้งหมด แต่แค่ได้นึกทบทวน ตกผลึกในสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ไป ก็ถือว่ายอดเยี่ยมมากแล้ว
สิ่งสำคัญคือ การจดเช่นนี้ จะทำให้เรารู้ว่า มีเนื้อหาส่วนไหนที่เรายังไม่เข้าใจหรือยังจำไม่ได้บ้าง มีส่วนไหนที่เรายังไม่รู้อย่างแตกฉาน เพื่อให้เราสามารถแยกระหว่างสิ่งที่ตัวเราเข้าใจแล้ว กับสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจออกจากกัน