ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทำให้การใช้ชีวิตของเราสะดวกสะบายมากขึ้น แถมยังประหยัดเวลามากๆอีกด้วย
แต่ก็ใช่ว่ามันจะอยู่ให้เราใช้งานได้ตลอดไป เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอย่างต่างก็มีวันเสื่อมสภาพของมัน และตัวเร่งให้มันพังเร็วอย่างคุณๆด้วย วันนี้ GangBeauty เลยมี 10 พฤติกรรมเสี่ยงจากเราที่คอยทำลายเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ แต่เรากลับไม่รู้ตัวมาฝาก ซึ่งใครกำลังทำอยู่ ควรหยุด คงไม่มีใครอยากซื้อเครื่องใหม่บ่อยๆให้เปลื้องเงินหรอเนอะ ไปดูกันเลย
[ตู้เย็น]
เริ่มต้นกันด้วยปากท้องของเรา
1. การขนย้ายตู้เย็นแนวนอน
:อย่าขนย้ายตู้เย็นแบบแนวนอนเพราะจะทำให้น้ำยาคอมเพรสเซอร์ตู้เย็นไหลออกมา ทำให้ระบบภายในเสียหาย แถมยังทำให้อายุการใช้งานสั้นลงอีกด้วย หากจะเคลื่อนย้ายตำแหน่งตู้เย็นควรขยับในแนวตั้งหรือเอียงได้ไม่เกิน 40 องศา
2 อย่าใช้งานตู้เย็นทันทีหลังขนย้ายเสร็จ
:เพราะจะทำให้น้ำยาคอมเพรสเซอร์รั่วไหลออกจนทำระบบภายในเสียหายได้ครับ ควรรอประมาณ 4-5 ชั่วโมง หลังการขนย้ายเพื่อให้น้ำยาเข้าที่ค่อยใช้งาน
3. ไม่ทำความสะอาดตู้เย็น
:นอกจากทำความสะอาดภายในตู้เย็นแล้ว เราควรดูแลรักษาความสะอาดขดลวดคอนเดนเซอร์หรือแผงความร้อนที่อยู่ด้านนอกที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนบ่อยๆ เช่นกัน เพื่อช่วยลดกำลังการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงได้ ช่วยให้ประหยัดไฟมากขึ้น และยืดอายุการใช้งานของตู้เย็น
[ไมโครเวฟ]
1. ห้ามวางของบนไมโครเวฟ
:เพราะจะทำให้ไมโครเวฟจะทำให้ไมโครเวฟรับน้ำหนักเกินจำเป็น และอาจไปบังช่องระบายอากาศทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้สะดวก
2. อบอาหารน้ำหนักเกิน
: เพราะไมโครเวฟไม่สามารถรองรับน้ำหนักมากๆ ได้เหมือนเตาอบขนาดใหญ่ อาจทำให้ระบบหมุนถาดด้านล่างไม่ทำงาน ทั้งยังเสี่ยงต่อจานรองหมุนจะแตกอีกด้วย
3. อบอาหารด้วยภาชนะทั่วไป
:เพราะการอบอาหารด้วยภาชนะที่ไม่ได้ระบุว่าสามารถใช้กับไมโครเวฟได้ นอกจากจะทำให้ไมโครเวฟเสียหายแล้ว อาจทำให้เกิดระเบิดขณะใช้งานได้
[เครื่องซักผ้า]
1. วางของหนักบนเครื่องซักผ้า
:แม้ว่าเครื่องซักผ้าจะมีขนาดใหญ่แต่ก็ไม่ควรวางของที่หนักเกินไป รวมไปถึงไม่ควรท้าวแขน หรือเหยียบบนตัวเครื่องด้วยนะครับ เพราะอาจะจะทำให้เครื่องทรุด
2. ไม่ทำความสะอาดขอบยาง
:เพื่อขจัดเชื้อราที่ขอบยางบริเวณฝาเครื่องซักผ้า เราควรทำความสะอาดขอบยางให้สะอาดและแห้งสนิท ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำส้มสายชูเช็ดให้ทั่ว แล้วเช็ดออกด้วยผ้าแห้งซ้ำอีกครั้ง เปิดฝาทิ้งไว้ให้อากาศถ่ายเท และหากเครื่องซักผ้าไม่มีระบบทำความสะอาดถังซัก ให้เปิดเครื่องทำงานด้วยระบบน้ำร้อนและเทน้ำส้มสายชูลงไป ทำซ้ำเดือนละ 1 ครั้ง
3. อย่าลืมเช็คของในกระเป๋าก่อนซัก
:เพราะหากสิ่งของเหล่านั้นหลุดออกมาขัดกับกลไลระหว่างซักผ้าล่ะก็ อาจจะถึงคราวต้องยกเครื่องซ่อมกันยาวๆ เลยทีเดียว
4. ทิ้งผ้าค้างในเครื่องนานเกินไป
:หากไม่อยากให้ตัวถังและสายพานของเครื่องซักผ้าต้องรับน้ำหนักผ้าเปียกเอาไว้นานๆ จนพังเสียหาย ควรรีบนำผ้าออกจากเครื่องทันทีที่ซักเสร็จเรียบร้อย