หลายวันมานี้ เราจะได้ยินข่าวการแพร่ระบาดของหนอนตัวแบนนิวกินี หนอนต่างถิ่นที่ว่ากันว่าติดอันดับ 1 ใน 100 สายพันธุ์รุกรานที่อันตรายของเลกในบ้านเราตามสื่อต่างๆ ทั้งทีวี หนังสือพิมพ์ หรือบนโซเชียลมีเดีย คุณอาจสงสัยว่าเจ้าหนอนชนิดนี้มีอันตรายต่อระบบนิเวศอย่างไร วันนี้ GangBeauty มีข้อมูลเกี่ยวกับหนอนตัวแบนนิวกินีมาฝากกันค่ะ
หนอนต่างถิ่นนี้มีชื่อตามถิ่นกำเนิดของมันคือ หมู่เกาะนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย ค้นพบครั้งเเรกในปี 1962 ปกติแล้วมันจะชอบอาศัยในพื้นที่เขตร้อนและมีเเพร่ระบาดในหมู่เกาะอินโด สิงคโปร์ และมาเลเซีย
หนอนเเบนนิวกินี มีขนาดความยาวประมาณ 4-6 ซม. ลำตัวสีน้ำตาลเข้มแบน หนา 5 มม. หัวและหางเรียวเเหลม มีดวงตา 2 ข้างบนหัว
หนอนตัวแบนนิวกินีอันตรายต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะอาหารจานโปรดของมันคือ หอยทาก และสัตว์หน้าดินต่างๆ เช่น ไส้เดือน จึงส่งผลต่อคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดินนั่นเองค่ะ
นอกจากนี้มันยังเป็นพาหะของพยาธิปอดหนู และพยาธิหอยโข่ง ซึ่งอาจติดต่อมาสู่คนได้ ถึงแม้การติดพยาธิเหล่านี้ในคนจะพบไม่บ่อยนักแต่ก็ควรป้องกัน โดยการล้างผักให้สะอาด เพราะอาจมีไข่พยาธิติดอยู่ก็ได้
ปัจจุบันพบการแพร่ระบาดของหนอนตัวเเบนนิวกินีใน 11 จังหวัด และระบาดหนักในช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา
การกำจัดผู้เชี่ยวชาญเเนะนำในจับหนอนเหล่านี้ใส่ภาชนะและราดด้วยน้ำร้อนหรือเกลือ การเทเกลือลงบนตัวหนอนโดยตรงต้องระวังอาจทำให้ดินเค็มได้ ห้ามสับหรือหั่นชิ้นส่วนของมันเด็ดขาด เพราะมันจะเจริญเติบโตต่อได้
และนี่คือข้อมูลดีๆที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ค่ะ หากกำจัดมันอย่างถูกวิธีไม่นานมันก็จะหมดไปจากบ้านเราเเน่นอน