เมื่อพูดถึงการนั่งนาน หลายคนอาจจะนึกถึงภาพพนักงานออฟฟิต แต่ความจริงแล้วใกล้ตัวกว่านั้นมาก แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำงานประจำ ไม่ใช่พนักงานออฟฟิต ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการนั่งนานได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งอยู่บนรถเป็นเวลานาน เพราะการจราจรติดขัด ไฟเขียว 10 วินาที ไฟแดง 2 นาที รวมไปถึงคนที่ชอบนั่งเล่นเกมนานๆ วันนี้ GangBeauty มีความรู้ดีๆ เกี่ยวกับโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณหากนั่งนานเกินไป จะมีโรคใดบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ
1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
สาเหตุเกิดจากปวดปัสสาวะแต่ไม่ยอมลุกไปเข้าห้องน้ำ ขอเคลียร์งานให้เสร็จก่อน ขอเล่นเกมจบตานี้ก่อน หรืออยู่บนรถที่มองไปทางไหนก็ไม่เห็นห้องน้ำ การอั้นปัสสาวะนานบ่อยๆ จะทำให้คุณเริ่มมีอาการปัสสาวะขัด รู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุด ปวดหน่วง วิธีเเก้คือดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อขับปัสสะวะออกมา ลุกยืดเส้นยืดสายไปเข้าห้องน้ำบ้าง รักงานต้องไม่ลืมรักตัวเองนะคะ
2. มีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหาร / การขับถ่าย
อาชีพบางอาชีพต้องนั่งนาน ลุกไปไหนไม่ได้ ทานอาหารไม่เป็นเวลา ไม่ค่อยเข้าห้องน้ำ การทำแบบนี้เป็นประจำจะทำให้ เป็นโรคกระเพาะอักเสบ หรือมีอาการท้องผูก วิธีรักษาคือ ทานอาหารที่ย่อยง่าย ทานผักที่มีเส้นใยสูง จะช่วยเรื่องระบบขับถ่าย อย่าอั้นปัสสาวะหรืออุจระ หากรู้สึกเมื่อยให้หยุดพักแล้วยืดเส้นยืดสายบ้าง
3. หมอนรองกระดูกเสื่อม
คนที่มีความจำเป็นต้องนั่งนาน เช่น ขับรถทางไกล พนักงานออฟฟิต หรือต้องยกของหนัก เคยได้รับการบาดเจ็บจากที่สูง มักมีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม เริ่มจากอาการปวด และจะค่อยๆป่วยมากขึ้น ยืนนานไม่ได้จะรู้สึกชาที่ขา ในบางรายอาจเอวคด
4. กล้ามเนื้อบริเวณคออักเสบ
มักเกิดกับคนที่นั่งท่าเดิมนานๆ เป็นประจำ โดยอาการจะเริ่มจากปวดบ่า ลามไปที่คอ แขน และอาจมีอาการมือชาร่วมด้วย หากมีอาการควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่เป็นต้นเหตุของปัญหา เท่าที่จะทำได้
5. เกิดผังผืดที่ข้อมือ
หากต้องขับรถทางไกล คนที่ทำงานอยู่หน้าคอม จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ทั่วถึง ยิ่งทำเป็นประจำทุกวันยิ่งเพิ่มความเสี่ยง จะเริ่มมีอาการปวดข้อมือ ให้ทำการบริหารเพื่อบำบัด วันละ 4 ครั้ง เพื่อให้เลือดสูบฉีด ฝึกโยคะ รักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
6. ตาล้า / หลับใน
การนั่งนาน ขับรถนานๆ ส่งผลไปถึงสุขภาพของตาด้วย หากต้องขับรถขณะที่มีแดดจ้า จะทำให้แสบตา ตาล้า มองเห็นไม่ถนัด เริ่มมีอาการหาวถี่ เริ่มมึน และอาจทำให้ไม่มีสมาธิ เผลอหลับในได้ หากรู้สึกว่าดวงตาเริ่มล้า หรือง่วง ไม่ควรฝืนขับต่อ ควรแวะพักหรือสลับกันขับ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ลองไปพบแพทย์ค่ะ