เมื่อเข้าสู่วัยทอง ในช่วงอายุ 45 – 55 ปี ผู้หญิงหลายๆคนจะมีอาการผิดปกติปรากฎ ซึ่งแต่ละคนจะแตกต่างกัน โดยอาการวัยทองทั้วไป เช่น อาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ ประจำเดือนมาไม่ปกติ มดลูกแห้ง หงุดหงิด ร่างกายอ่อนเพลีย ผมร่วง หลงลืมง่าย วิงเวียนศรีษะ ท้องอืด ปัสสาวะ-ขับถ่ายบ่อย
1. อาการร้อนหนาววูบวาบ อาการร้อนหนาววูบวาบในผู้หญิงที่มีอาการวัยทองจะมีลักษณะอาการร้อนบริเวณลำตัวส่วนบนและใบหน้าขึ้นมาทันทีทันใด สามารถเกิดขึ้นได้ 2-3 ครั้งต่อวัน ระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 1-5 นาที หรือบางรายพบได้ถึง 50 ครั้งต่อวัน
2. เหงื่อออกมากผิดปกติ เหงื่อออกมากผิดปกติเป็นภาวะหนึ่งที่เกิดหลังจากมีอาการร้อนหนาววูบวาบบริเวณร่างกายส่วนบนและใบหน้าในผู้หญิงที่มีอาการวัยทอง โดยจะมีเหงื่อออกมากผิดปกติ และในบางรายพบว่ามีอาการหนาวสั่นตามมาได้อีกด้วย ซึ่งอาการหนาวสั่นมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืน และส่งผลต่อการนอนหลับได้อีกด้วย แต่หากเกิดอาการนี้ในระหว่างวัน การที่เหงื่อออกมากผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่อกลิ่นตัวเพิ่มขึ้นด้วย
3. ภาวะนอนไม่หลับ ภาวะนอนไม่หลับในผู้หญิงที่มีอาการวัยทอง สามารถมีอาการได้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยในบางรายอายุเพิ่งก้าวเข้าสู่ 30 ก็สามารถมีอาการนอนไม่หลับได้ รูปแบบอาการนอนไม่หลับจะแตกต่างกันไปแล้วแต่กรณี เช่น บางรายอาจรู้สึกนอนไม่หลับเลยจนสว่าง หรือบางรายอาจนอนหลับๆ ตื่นๆ หลายรอบในแต่ละคืน ซึ่งอาการทั้งหมดจะให้ทำสมองไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ จึงส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมอย่างมากและส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้
4. อารมณ์แปรปรวน อารมณ์แปรปรวนในผู้หญิงที่มีอาการวัยทองนั้น เป็นภาวะที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีผลต่อการผลิตสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลางที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งเซโรโทรนินที่ผลิตขึ้นนั้นจะไปทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับทางด้านอารมณ์ ความก้าวร้าว ความซึมเศร้า การนอนหลับ เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจะส่งผลให้ระดับเซโรโทนินลดลงตาม จึงทำให้เกิดอารมณ์ ความก้าวร้าวมีเพิ่มมากขึ้น หรือมีอารมณ์แปรปรวนนั้นเอง คนทั่วไปมักเข้าใจและชอบเปรียบเทียบคนที่มีอารมณ์แปรปรวนนี้ว่า คนวัยทอง
5. อาการเวียนศรีษะ อาการเวียนศรีษะเป็นอาการหนึ่งที่มีผลมาจากภาวะการนอนไม่หลับในผู้หญิงที่มีอาการวัยทอง ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะระหว่างวันได้
6. ผิวหนังแห้งกร้านเป็นขุย เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตได้ลดลง คอลลาเจนใต้ผิวก็จะผลิตลดลงด้วย ส่งผลให้ผิวบาง สูญเสียความชุ่มชื้นที่ผิวได้ง่าย ทำให้ผิวแห้งกร้าน โดยบางรายผิวจะมีลักษณะเป็นขุยๆแตกแห้ง หรือบางรายมีอาการคันตามผิวหนัง บางครั้งอาจมีอาการคันได้ และนานๆ ไป ก็จะมีโอกาสเป็นฝ้า กระและรอยเหี่ยวย่นตามมานั้นเอง
7. เล็บเปราะบาง เนื่องจากสุขภาพของเล็บถือว่ามีความสัมพันธ์กับสุขภาพของผิวโดยตรง เมื่อผิวแห้งกร้านไม่ชุ่มชื่น จึงส่งผลการะทบให้เล็บแห้งและเปราะบางได้ในที่สุด
8. ช่องคลอดแห้งและความต้องการทางเพศที่ลดลง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีอิทธิพลต่อความชุ่มชื้น ความอวบอิ่ม ความหยืดหยุ่นของช่องคลอด และนอกจากนั้นก็ยังมีอิทธิพลต่อการทำงานของต่อมบาร์โธลิน (Bartholin gland) ซึ่งต่อมนี้มีหน้าที่หลักในการสร้างสารคัดหลั่งในช่องคลอด ดังนั้นเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองการผลิตสารคัดหลั่งดังกล่าวก็จะลดลง ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองในขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยแวดล้อมหลายๆอย่าง เช่น วัยที่เพิ่มมากขึ้น อารมณ์ สุขภาพโดยรวม ก็มีผลต่อความต้องการทางเพศที่ลดลงตามมาด้วย
9. ผมร่วงง่าย ผมร่วงง่ายในผู้หญิงที่มีอาการวัยทอง มีสาเหตุมาจากการที่รากผมหรือขน จะฝังตัวอยู่ในชั้นหนังแท้ ที่มีคอลลาเจนเป็นโครงสร้างในการยึดเกาะ การที่สร้างคอลลาเจนที่ผิวหนังในชั้นหนังแท้ มีการสร้างลดลง ทำให้โครงสร้างการยึดเกาะหรือคอลลาเจนลดลง จึงส่งผลให้เส้นผมอ่อนแอและหลุดล่วงได้ง่ายตามมา
10. ประจำเดือนมาผิดปกติ อาการประจำเดือนมาผิดปกติหรือมาไม่สม่ำเสมอในหญิงที่มีอาการวัยทอง เป็นอาการหนึ่งที่พบห็นได้ชัดเจน โดยช่วงแรกจะเกิดอายุประมาณ 40-45 ปี เป็นช่วงที่ประจำเดือนมาเร็วขึ้นกว่าปกติ อาจเลื่อนจากรอบ 1 เดือนต่อครั้ง มาเป็น 3 สัปดาห์ต่อครั้ง และในช่วงถัดมาที่อายุ 45 ปีขึ้นไป รอบประจำเดือนจะเริ่มมาห่างขึ้น คือ 2-3 เดือน ต่อครั้ง และท้ายที่สุดในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป จะเป็นช่วงหมดประจำเดือน ประจำเดือนจะไม่มาติดต่อกันตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
11. อาการหลงลืมง่าย อาการหลงๆ ลืมๆ จะพบมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทอง ความจำระยะสั้นจะเริ่มเสื่อมถอยลง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนไปมีผลต่อสมองของเรา ทำให้การหลั่งสารสื่อประสาทที่เกี่ยวกับความจำลดลง จึงส่งผลต่อความจำระยะสั้น สำหรับความจำระยะยาวเซลล์สมองจะค่อยๆถูกทำลายลง ไปเรื่อยๆ จนสุดท้าย จะส่งผลต่อความจำระยะยาว หรือที่เรียกว่าโรคอัลไซเมอร์นั้นเอง
12. โรคกระดูกพรุน เมื่อเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงทำให้ไปมีผลต่อการสลายมากกว่าการสร้างแคลเซียมในกระดูก จึงเป็นที่มาของภาวะกระดูกเปราะบาง แตกหักง่าย สำหรับผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองจะสังเกตุเห็นได้ชัดเจนว่า จะมีการโก่งงอของหลังเพิ่มมากขึ้นตามวัยที่มากขึ้น
13. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและปวดตามข้อและกระดูก สำหรับผู้ก้าวเข้าสู่วัยทองบางรายอาจจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือ ปวดตามข้อและกระดูกได้ง่าย แต่สาเหตุยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะการสลายตัวของกระดูกที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในวัยช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน
14. อาการเหมือนมีไฟฟ้าช๊อตตามร่างกาย เกิดจากการที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็ว ไปมีผลต่อระบบประสาทในส่วนของไฮโปทาลามัสทำงานแปรปรวน จึงส่งผลให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นได้ ส่วนมากจะเกิดขึ้นก่อนช่วงอาการร้อนวูบวาบ
15. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ภาวะกลั้นปัจสาวะไม่อยู่ในผู้หญิงที่มีอาการวัยทองเกิดจากเยื่อบุในท่อปัสสาวะขาดความยืดหยุ่น มีสาเหตุเนื่องมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงไป มีผลต่อการสร้างความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นของผิวและเยื้อบุในท่อปัสสาวะของคนเรา
16. คลอเลสเตอรอลสูง คลอเลสเตอรอลสูงเป็นปัญหาอย่างมากแก่ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปโดยทั่วไปแล้วคลอเลสเตอรอลสูงมีหลายๆปัจจัยแต่การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คลอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้เช่นกัน ทั้งนี้เหตุผลก็คือ คลอเลสเตอรอลคือสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่อฮอร์โมนเอสโตเจนผลิตลดลง สารตั้งต้นคลอเลสเตอรอลก็ถูกเผาผลาญลดลงเช่นเดียวกัน
ภาพปกประกอบจาก : pixabay.com