การปฐมพยาบาล
หลังถูกงูกัดจะต้องปฐมพยาบาลทันที ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงต้องช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที โดยคำแนะนำการปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูกัด ได้แก่
1. รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด โดยเมื่อทราบว่าโดนงูกลัวให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ ขอความช่วยเหลือ 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
2. ใช้เชือก ผ้า หรือสายยางรัดแขนหรือขา ระหว่างแผลงูกัดกับหัวใจ (เหนือรอยเขี้ยว 2-4 นิ้วฟุต) เพื่อป้องกันมิให้พิษงูถูกดูดซึมเข้าร่างกายโดยเร็ว ให้รัดแน่นพอที่จะหยุดการไหลเวียนของเลือดดำ ควรคลายเชือกทุกๆ 15 นาที โดยคลายนานครั้งละ 30-60 วินาที จนกว่าจะถึงสถานพยาบาล
3. เคลื่อนไหวแขน หรือขาส่วนที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด ควรจัดตำแหน่งของส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ระดับต่ำกว่าหัวใจ (เช่น ห้อยเท้า หรือมือส่วนที่ถูกงูกัดลงต่ำ) ระหว่างเดินทางไปสถานพยาบาล อย่าให้ผู้ป่วยเดิน ให้นั่งรถหรือแคร่หาม ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของพิษงู
4. ควรดูให้รู้แน่ว่าเป็นงูอะไร แต่ถ้าไม่แน่ใจ ควรบอกให้คนอื่นที่อยู่ในที่เกิดเหตุช่วยตีงูให้ตาย และนำไปยังสถานพยาบาลด้วย (อย่าตีให้เละจนจำลักษณะไม่ได้)
5. อย่าให้ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาดองเหล้า หรือกินยากระตุ้นประสาท รวมทั้งชา กาแฟ
6. อย่าใช้ไฟ หรือเหล็กร้อนจี้ที่แผลงูกัด และอย่าใช้มีดกรีดแผลเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เลือดออกมาก
7. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ (จากงูที่มีพิษต่อประสาท) ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจไปตลอดทาง จนกว่าจะถึงสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุด
8. สำหรับบาดแผลให้ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดบาดแผล ถ้ารู้สึกปวดแผล ห้ามให้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายขึ้น
สิ่งที่ไม่ควรทำในการช่วยเหลือผู้ที่ถูกงูพิษกัด
1.ห้ามใช้เหล้า ยาสีฟัน หรือสิ่งอื่นๆ ทาแผล พอกแผล เนื่องจากอาจทำให้แผลติดเชื้อ
2.ไม่ควรกรีดแผล เนื่องจากจะทำให้พิษงูกระจายเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น
3.ไม่ควรใช้ปากดูดเลือดจากแผลงูกัด เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ดูดได้
4.ห้ามให้ผู้ถูกงูกัดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
5.ห้ามขันชะเนาะเพราะอาจทำให้เนื้อตายได้
เกร็ดความรู้
ช่วงเวลาที่พบผู้ป่วยถูกงูกัดชุกชุม คือ ฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน) ผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด พบว่า ถูกงูกะปะกัดมากอันดับหนึ่ง (ภาคใต้) รองลงมาคือ งูเขียวหางไหม้ (ภาคกลาง) และงูเห่า (ภาคกลาง) ตามลำดับ
ความแตกต่างระหว่างงูพิษกับงูไม่มีพิษ
-งูพิษ มีเขี้ยว 1 คู่ อยู่ตรงขากรรไกรบน เขี้ยวมีลักษณะเป็นรูกลวงคล้ายเข็มฉีดยา มีท่อติดต่อกับต่อมน้ำพิษ เมื่องูพิษกัดคนหรือสัตว์ ต่อมน้ำพิษจะปล่อยพิษไหลมาตามท่อ และออกทางปลายเขี้ยว คนที่ถูกงูพิษกัดจะพบรอยเขี้ยวเป็นจุด 2 จุด ตรงบริเวณที่ถูกกัด
-งูไม่มีพิษ จะไม่มีเขี้ยว มีแต่ฟัน เมื่อกัดคน จะเป็นแต่รอยถลอกหรือรอยถากเท่านั้น จะไม่พบรอยเขี้ยว
-งูไม่มีพิษ เช่น งูก้นขบ งูแสงอาทิตย์ งูปี่แก้ว งูเขียวปากจิ้งจก งูลายสาบ งูลายสอ งูงอด งูเหลือม และงูหลาม (2 ชนิดหลังตัวใหญ่ สามารถรัดลำตัว ทำให้ตายได้) (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าถูกงูที่มีพิษต่อเลือดกัด) หรืออาจตัดถูกเส้นเอ็นหรือเส้นประสาท รวมทั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้