สงสัยใช่ไหมว่า ทำไมพูดโกหกถึงทำให้สมองเสื่อมได้ ?
โดยธรรมชาติแล้ว เมื่อเริ่มพูดโกหก สมองจะเริ่มจินตนาการ
ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อให้แนบเนียน และ ไม่ถูกจับได้
พูดสิ่งที่ผิดไปจากข้อมูลเดิมที่เคยได้รับรู้ ภายสมองจะเขียนข้อมูลใหม่
“ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง” ทับลงบน “ข้อมูลที่ถูกต้อง” ทำให้เริ่มสับสน
เนื่องจาก.. ความจริง และ ข้อมูล ที่ตรงข้าม จึงทำให้การจัดการข้อมูลผิดปกติ
ในระยะยาวจะทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลที่จัดเก็บไว้รวนเรได้
เมื่อโกหกบ่อยจนเป็นนิสัย คนที่โกหกบ่อยๆ จะเริ่มจำไม่ได้ว่า
เรื่องนี้เคยบอกผู้อื่นไปไว้อย่างไร เรื่องนี้เคยโกหกไปว่าอย่างไร
เพราะ ความเป็นจริง กับ จินตนาการ เริ่มผสมกันไปมา..
กลายเป็นว่า เรื่องโกหกนี้หลอกตัวเองไปด้วยโดยไม่รู้ตัว
สรุปได้ว่าเวลาที่เราพูดโกหก เราจะเริ่มต้นด้วยการคิดเป็นภาพที่ไม่จริงขึ้นในใจก่อน
จากนั้นจึงพูดออกไปตามภาพที่เราคิด การพูดเรื่องไม่จริงบ่อยๆ
จะทำให้ภาพความจริงกับภาพความคิดปะปนกัน ก่อให้เกิดอาการสับสน
จนบางครั้งผู้พูดก็ไม่สามารถแยกได้ว่า เรื่องไหนเป็นเรื่องจริง เรื่องไหนเป็นเรื่องโกหก
ทำให้มีโอกาสสมองเสื่อมมากกว่าคนที่พูดความจริงอยู่เสมอ
เพราะ คนที่พูดแต่ความจริงจะเห็นภาพความจริงเพียงภาพเดียวอย่างชัดเจน
ความจำจึง ชัดเจน และ แม่นยำ !!
หรือนี่อาจเป็นผลกรรมตามธรรมชาติของร่างกายที่ลงโทษคนชอบโกหกก็ได้
รู้แบบนี้แล้ว เราควรพูดความจริงเสียดีกว่า อย่างน้อยๆก็ไม่ต้องคอยปิดบังอะไร