ทำไมน้ำดื่มใสๆ ที่บรรจุขวดวางขายตามท้องตลาดหรือที่มักจะแจกฟรีตามปั๊มน้ำมัน จึงต้องมีวันหมดอายุด้วย ทั้งๆที่เมื่อพิจารณาส่วนประกอบภายในแล้ว ก็พบว่าไม่มีอะไรเลยนอกจากของเหลวใสๆ แต่ทำไมเราถึงไม่ควรดื่มรับประทานน้ำพวกนี้เมื่อเก็บเอาไว้เป็นเวลานาน
ภาพจาก pinterest
แต่ความจริงแล้ว น้ำไม่ได้หมดอายุ…ภาชนะที่บรรจุน้ำต่างหากที่หมดอายุ หลายคนอาจไม่เคยสังเกตมาก่อนเลยว่า น้ำดื่มที่มีขายตามท้องตลาดนั้น จะต้องระบุวันหมดอายุเอาไว้ตาม พ.ร.บ.อาหารและยา (อย.) แม้น้ำจะยังคงบรรจุอยู่ในขวดที่ปิดฝาสนิทและยังคงความใส แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งขวดพลาสติกที่บรรจุ จะปล่อยสารพิษชนิดที่ละลายออกมาปะปนกับน้ำดังที่กล่าวไว้ในข้างต้นหากเราจัดเก็บขวดน้ำดื่มไว้ในอุณหภูมิที่สูงจัด อย่างในรถที่จอดกลางแจ้ง ขวดน้ำอาจอ่อนตัวลง เกิดสารเคมีในการผลิตพลาสติกเข้าไปปนเปื้อนในขวดได้ หรือถ้าเก็บไว้ในช่อง Freeze ขวดพลาสติกอาจขยายตัวเกิดการเปราะแตกทำให้จุลินทรีย์ซึมเข้าสู่ขวดและปนเปื้อนกับน้ำดื่มได้นอกจากนี้น้ำดื่มบรรจุขวดส่วนใหญ่จะระบุวันหมดอายุไว้ 2 ปีจากวันที่ผลิต เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่า ได้ซื้อสินค้าใหม่ ถูกสุขอนามัย รวมไปถึงขวดน้ำที่เปิดใช้แล้ว ไม่ควรใช้นานเกินกว่า 1 อาทิตย์ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค
ภาพจาก pixabay
ตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขเรื่องน้ำบริโภค ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทก็ได้มีการกำหนดว่าฉลากของน้ำบริโภคก็ต้องมีเป็นภาษาไทยหรือว่าข้อความที่แสดง อย่างน้อยต้องมีชื่ออาหาร เลข อย. ชื่อที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือว่าปริมาณของอาหาร ปริมาณของน้ำกี่ CC หรือกี่กรัม ส่วนประกอบของอาหารนี้ ประกอบด้วยอะไรบ้าง อันนี้เป็นกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องแสดงบนฉลาก วันที่ควรบริโภคก่อนวันไหน เพราะฉะนั้นก็ต้องดูหากเกินวันที่ควรก่อนบริโภคไปแล้วไม่ควรเอามาดื่ม อันนี้เป็นข้อสังเกต
ภาพจาก pixabay
ภาพจาก pixabay
ภาพจาก pixabay