ให้ธรรมมะนำทางชีวิต มีสติเหมือนมีเครื่องผูกใจ
มีสติเป็นเสมือนเชือกผูกใจ
เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงปฐกถาธรรมของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้แสดงไว้ ในหนังสือ คำสอนหลวงพ่อ
ความโกรธเป็นสิ่งไม่ดี เกิดแล้วเผาใจให้เร่าร้อน ให้ใจมือบอด ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี คนที่ฆ่ากันทำร้ายกันเพราะความโกรธแผล็บเดียวเกิดขึ้น แแต่ว่าไม่ยั้งใจ ปล่อยให้ไหลไปตามอำนาจของความโกรธจึงก่อกรรมทำเข็ญ
ทำให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน คนที่ไปอยู่ในคุกเพราะโทษฐานฆ่าคนตายนั้น ไม่ใช่โกรธกันมาถึงสิบปี บางที่โกรธเดี่ยวนั้นฆ่าเดี่ยวนั้น นี่เพราะว่าไม่เคยหักห้ามใจ ชอบปล่อยไปตามเรื่อง ไม่เอาเชือกผูกใจไว้เสียบ้าง
เชือกผูกใจก็คือตัวสตินั้นเอง สติคือความรู้สึกตัวได้ทันท่วงที่ในเมื่อใจเรามันจะคิดอะไรขึ้นมา?รู้สึกทัน แล้วก็รั้งได้ทันที พระพุทธเจ้าท่านจึงได้ตอบปัญหามาณพคนหนึ่งว่า ” สติเป็นเครื่องกั้นกระแสจิตใจ”
มาณพนั้นถามว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสจิตใจ สิ่งที่มันไหลไปลักษณะต่างๆ เขาเรียกว่ากระแส กระแสน้ำ กระแสคลืน กระแสลม กระแสใจมันก็ไหลเรื่อย ให้เกิดอะไรขึ้นในใจของเรา ถามว่าใช้อะไรเป็นเครื่องกั้น?
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ” สติ เตสํ นิวารณํ ” บอกว่า สตินั่นแหละ เป็นเครื่องกั้นกระแส เป็นเครื่องหยุดยั้งความคิดไว้ไม่ให้ไหลไปตามอารมณ์อันนั้น
เช่นว่า พอเกิดความโกรธ รู้ตัวปั๊บ หยุดมันเสีย ยั้งมือไว้ ยั้งปากไว้ อย่าด่าออกไป อย่าหยิบอาวุธ อย่าทำอะไร ยั้งไว้ ถ้าเราทำอย่างนี้ก็เรียกว่า มีการเหนี่ยวรั้ง มีการบังคับตัวเอง
ผู้ประเสริฐ คือ ผู้บังคับตัวเองได้
คนเรานั้นถ้าบังคับตัวเองได้มากเท่าใด ยิ่งเป็นผู้ประเสริฐมากเท่านั้น คนที่ประเสริฐก็คือคนที่บังคับตัวเองได้ ถ้าบังคับตัวเองไม่ได้ก็ไม่ประเสริฐอะไร
ความของคนมันอยู่ที่การบังคับตัวเอง ถ้าไม่รู้จักบังคับตัวเอง เขาตั้งให้ใหญ่เท่าใดมันก็ใหญ่อย่างไม่ได้เรื่องนั่นแหละ สำคัญมันอยู่ตรงนี้
ฉะนั้น เราจะต้องฝึกบังงคับตัวเองไว้ เหนี่ยวรั้งไว้ ไม่ให้เกิดอารมณ์เช่นนั้น แต่ว่าการบังคับเหนี่ยวรั้งนั้นเป็นปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อมันหยุดแล้ว เราควรจะวิจัยค้นคว้าต่อไปว่า อะไรมาทำให้เราโกรธ อะไรมาทำให้เกิดสิ่งนั้น
ขึ้นในใจ
แล้วสิ่งนั้นมันคืออะไร สมมติว่าเขาด่า เราอย่ายึดเอาคำด่านั้นมาโกรธ เราก็ควรถามว่า ใครด่า คนด่ามันมีหรือ แล้วใครเป็นผู้ถูกด่า ผู้ถูกด่ามันมีหรือ ผู้ด่านมันก็ไม่มี ผูุ้ถูกด่าก็ไม่มี คำด่ามันมีหรือ ไม่มี มันเป็นแต่คลื่นของ
อากาศที่เกิดจากลมปากที่พูดออกมาเท่านั้นแล้วก็หายไป เรานี่โง่เองที่ไปยึดไว้ ไม่ยอมให้มันหายไปตามอากาศ ชอบสร้างเรื่องสร้างราว สร้างเรด้าห์ออกไปรับรอบตัว รับเอาไว้ทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าอะไรๆก็รับเอาๆ นี่เรียกว่า
ควายเขารึ ชอบหาเรื่อง ชอบรับเรื่องนั้นเรื่องนี้มาใส่ไว้ในใจ แล้วไปนั่งทุกข์ทนหม่นหมองใจ ทำให้ตนเศร้าใจเป็นทุกข์ไปเปล่าๆ ทีนี้ให้มีการควบคุม คอยเหนี่ยวรั้งไว้
พฤศจิกายน 19, 2018 / ธรรมมะ ให้ธรรมมะนำทางชีวิต มีสติเหมือนมีเครื่องผูกใจ
มีสติเป็นเสมือนเชือกผูกใจ
เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงปฐกถาธรรมของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้แสดงไว้ ในหนังสือ คำสอนหลวงพ่อ
ความโกรธเป็นสิ่งไม่ดี เกิดแล้วเผาใจให้เร่าร้อน ให้ใจมือบอด ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี คนที่ฆ่ากันทำร้ายกันเพราะความโกรธแผล็บเดียวเกิดขึ้น แแต่ว่าไม่ยั้งใจ ปล่อยให้ไหลไปตามอำนาจของความโกรธจึงก่อกรรมทำเข็ญ
PROMOTED CONTENTMgid
ข่าวช็อก! ผู้ที่ถูกหวย 86 ล้าน เผยความลับของเธอในการดึงดูดเงิน!
ถ้าคุณปวดข้อต่อ ลองใช้วิธีใหม่เพื่อรักษาข้อต่อ
วิธีประหยัดค่าไฟ สูงสุด 50% โดยไม่ผิดกฎหมาย
Inspire Yourself With Alluring Asian Beauties
asiadate.net
ทำให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน คนที่ไปอยู่ในคุกเพราะโทษฐานฆ่าคนตายนั้น ไม่ใช่โกรธกันมาถึงสิบปี บางที่โกรธเดี่ยวนั้นฆ่าเดี่ยวนั้น นี่เพราะว่าไม่เคยหักห้ามใจ ชอบปล่อยไปตามเรื่อง ไม่เอาเชือกผูกใจไว้เสียบ้าง
เชือกผูกใจก็คือตัวสตินั้นเอง สติคือความรู้สึกตัวได้ทันท่วงที่ในเมื่อใจเรามันจะคิดอะไรขึ้นมา?รู้สึกทัน แล้วก็รั้งได้ทันที พระพุทธเจ้าท่านจึงได้ตอบปัญหามาณพคนหนึ่งว่า ” สติเป็นเครื่องกั้นกระแสจิตใจ”
มาณพนั้นถามว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสจิตใจ สิ่งที่มันไหลไปลักษณะต่างๆ เขาเรียกว่ากระแส กระแสน้ำ กระแสคลืน กระแสลม กระแสใจมันก็ไหลเรื่อย ให้เกิดอะไรขึ้นในใจของเรา ถามว่าใช้อะไรเป็นเครื่องกั้น?
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ” สติ เตสํ นิวารณํ ” บอกว่า สตินั่นแหละ เป็นเครื่องกั้นกระแส เป็นเครื่องหยุดยั้งความคิดไว้ไม่ให้ไหลไปตามอารมณ์อันนั้น
เช่นว่า พอเกิดความโกรธ รู้ตัวปั๊บ หยุดมันเสีย ยั้งมือไว้ ยั้งปากไว้ อย่าด่าออกไป อย่าหยิบอาวุธ อย่าทำอะไร ยั้งไว้ ถ้าเราทำอย่างนี้ก็เรียกว่า มีการเหนี่ยวรั้ง มีการบังคับตัวเอง
ผู้ประเสริฐ คือ ผู้บังคับตัวเองได้
คนเรานั้นถ้าบังคับตัวเองได้มากเท่าใด ยิ่งเป็นผู้ประเสริฐมากเท่านั้น คนที่ประเสริฐก็คือคนที่บังคับตัวเองได้ ถ้าบังคับตัวเองไม่ได้ก็ไม่ประเสริฐอะไร
ความของคนมันอยู่ที่การบังคับตัวเอง ถ้าไม่รู้จักบังคับตัวเอง เขาตั้งให้ใหญ่เท่าใดมันก็ใหญ่อย่างไม่ได้เรื่องนั่นแหละ สำคัญมันอยู่ตรงนี้
ฉะนั้น เราจะต้องฝึกบังงคับตัวเองไว้ เหนี่ยวรั้งไว้ ไม่ให้เกิดอารมณ์เช่นนั้น แต่ว่าการบังคับเหนี่ยวรั้งนั้นเป็นปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อมันหยุดแล้ว เราควรจะวิจัยค้นคว้าต่อไปว่า อะไรมาทำให้เราโกรธ อะไรมาทำให้เกิดสิ่งนั้น
ขึ้นในใจ
แล้วสิ่งนั้นมันคืออะไร สมมติว่าเขาด่า เราอย่ายึดเอาคำด่านั้นมาโกรธ เราก็ควรถามว่า ใครด่า คนด่ามันมีหรือ แล้วใครเป็นผู้ถูกด่า ผู้ถูกด่ามันมีหรือ ผู้ด่านมันก็ไม่มี ผูุ้ถูกด่าก็ไม่มี คำด่ามันมีหรือ ไม่มี มันเป็นแต่คลื่นของ
อากาศที่เกิดจากลมปากที่พูดออกมาเท่านั้นแล้วก็หายไป เรานี่โง่เองที่ไปยึดไว้ ไม่ยอมให้มันหายไปตามอากาศ ชอบสร้างเรื่องสร้างราว สร้างเรด้าห์ออกไปรับรอบตัว รับเอาไว้ทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าอะไรๆก็รับเอาๆ นี่เรียกว่า
ควายเขารึ ชอบหาเรื่อง ชอบรับเรื่องนั้นเรื่องนี้มาใส่ไว้ในใจ แล้วไปนั่งทุกข์ทนหม่นหมองใจ ทำให้ตนเศร้าใจเป็นทุกข์ไปเปล่าๆ ทีนี้ให้มีการควบคุม คอยเหนี่ยวรั้งไว้
คนที่จะควบคุมตัวเองด้วยเรื่องใด ต้องรู้ว่าอะไรมันทำให้เรายุ่งให้รู้เรื่องก่อน รู้ว่าสิ่งไหนทำให้ยุ่ง ตัวโลภ ตัวโกรธ ตัวหลง ตัวริษยา ตัวอะไรที่ทำให้ยุ่ง มันยุ่งเพราะอะไร ทำไมมันจึงยุ่ง ต้องคิด ต้องตรอง เมื่อคิดไปตรองไปก็
จะมองเห็นภาพของมันตามกันมาเป็นแถว ตัดต้นทาง ตัดขบวน อย่าไปตัด ปลายแถว ตัดปุ๊ปมันก็กล้มพรวดลงไปเลย เรื่องนั้นก็หายไป แล้วเราก็จะต้องเอาไปศึกษาบ่อยๆ
หมั่นคิดพิจารณาเรื่องที่ผ่านมาด้วยปัญญา
ของเก่าเอามาคิดค้นไม่ใช่เสียหาย ถ้าเอามาพิจารณาด้วยปัญญา มันก็ไม่เป็นไร ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า “อย่าไปคิดถึงเรื่องผ่านมาแล้ว” นั่นหมายความว่า อย่าไปคิดด้วยความโง่ อย่าไปคิดด้วยความยึดถือฝันเพ้อ แต่ถ้า
เราเอาเรื่องเก่าขึ้นมาพินิจพิจารณา ศึกษา ค้นคว้า เพื่อปัญญาแล้ว อย่างนี้ก็ใช้ได้
ก็เรื่องในชีวิตของเราแต่ละคนมันเยอะ ผ่นมาแล้วก็เอามาดูเสียมั่ง ดูด้วยปัญญา ดูว่ามันมาอย่างไร มันไปอย่างไร มันอยู่อย่างไร มันเกิดทุกข์โทษอย่างไรในชีวิตของเรา เอามาดูบ้างเถอะ ถ้าดูแล้วจะฉลาดขึ้น รู้เท่าทัน
เหตุการณ์มากขึ้ง บังคับจิตใจของตัวเองได้มากขึ้น อันจะเป็นทางช่วยให้เกิดความสงบใจ
อันนี้เป็นวิธีการปฏิบัติเบื้องต้นในการรู้จักนึกคิด เพื่อรักษาใจของเราให้สงบขึ้นตามสมควรแก่ฐานะ
พระพรหมมังคลาจารย์(หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)