เพจ คลินิกเวชกรรมแพทย์ธนานนท์ สุพรรณบุรี ก็ได้ออกมาแชร์ประสบการณ์ให้เราได้รู้กัน โดนกิ้งกือกัดแล้วจะถูกมันปล่อยไข่ใส่ไปในแผลหรือมีลูกกิ้งกือชอนไชอยู่ในนั้น ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่
ต้องขอบอกก่อนว่า กิ้งกือ ถือเป็นสัตว์ที่ไม่ได้มีนิสัยดุร้าย และค่อนข้างจะไวต่อสิ่งรอบข้าง หากรู้สึกว่ามีอันตรายใดๆ กิดขึ้น ก็จะรีบขดตัวเป็นวงกลมทันที ไม่มีลักษณะของการต่อสู้กับศัตรู นอกจากนี้ปากของกิ้งกือยังมีลักษณะแบน ไม่มีเขี้ยวแหลม จึงไม่สามารถกัดทะลุผิวหนังของมนุษย์ได้
นอกจากกิ้งกือจะกัดคนไม่ได้แล้ว ยังไม่สามารถปล่อยไข่ใส่แผลของคนได้อีกต่างหาก เพราะไข่ของกิ้งกือไม่ได้อยู่ที่ปาก แต่อยู่ที่ลำตัว ไข่ของกิ้งกือมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และกิ้งกือเองก็ไม่ได้มีพฤติกรรมวางไข่บนสิ่งมีชีวิตอื่น และสำหรับวงการแพทย์เอง ก็ยังไม่เคยมีรายงานที่ชัดเจนจริงๆ ว่ากิ้งกือสามารถวางไข่ในร่างกายของคน จนเจริญเป็นตัวอ่อนได้
แต่กลับต้องแปลกใจเมื่อมีเคสผู้ป่วยรายหนึ่ง ได้บอกต่อคุณหมอว่าตนเองนั้นโดนกิ้งกือกัดมา หลายวันก่อนตอนไปเดินป่าและคนไข้บอกว่า ช่วยผ่าออกให้ที กลัวว่าจะมีตัวลูกมันอยู่ข้างใน ที่บริเวณข้างๆเท้ามีอาการบวมแดง แต่เนื่องจากแผลอักเสบเหมือนจะเป็นหนอง เลยต้องผ่าอยู่แล้ว
หลังจากผ่าเข้าไป สิ่งที่ต้องตกใจ คือ มี “สิ่งมีชีวิตที่คล้ายกิ้งกือตัวเล็กๆแต่สีขาวขุ่น” ราวๆ 3-4 ตัว อยู่ในแผลนั้นจริงๆ นั่นทำให้ตกใจ และจดจำมาจนถึงทุกวันนี้ นั่งเฝ้านึกและค้นหาความจริงว่า มันเป็นไปได้จริงๆหรือ หลังไปศึกษาหาความรู้มาจึงพบว่า
1. “กิ้งกือไม่สามารถกัดคนได้” เพราะฟันมันจะแบนๆ ไม่ได้เป็นเขี้ยวแหลม แถมนิสัยไม่ดุร้ายและเวลากลัวจะหดตัว ไม่มีลักษณะต่อสู้โดยการกัดศัตรู
2. ไข่ของกิ้งกือไม่ได้อยู่ที่ปาก และไม่มีอวัยวะสืบพันธุ์ที่ปาก ที่กัดแล้วจะปล่อยไข่ออกจากปากเข้าแผลได้ และไม่มีพฤติกรรมวางไข่ในสิ่งมีชีวิตอื่น
3. ไข่ของมันมีขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่อยู่ที่ลำตัว
4. ในต่างประเทศมีการเลี้ยงกิ้งกือเพื่อศึกษา และเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง หยิบจับเล่นกันได้ และไม่มีรายงานว่ากิ้งกือกัดคนได้ และยิ่งกว่านั้นคือไม่มีรายงานว่ามันกัดแล้ววางไข่ในร่างกายคนหรือเจริญเป็นตัวอ่อนในตัวคนได้
5. แต่กิ้งกือสามารถปล่อยสารเหม็นออกมาจากตัวและสารเยื่อเมือกที่เมื่อสัมผัสโดนผิวหนังคนแล้วจะเกิดอาการอักเสบของผิวหนังฉับพลันขึ้นได้ คล้ายๆกับแมลงก้นกระดก
6. ตัวอ่อนกิ้งกือต้องอาศัยออกซิเจนในการเจริญเติบโตเหมือนแมลงสัตว์ทั่วๆไป การที่จะอยู่ในเนื้อเยื่อมนุษย์ที่ไม่มีออกซิเจนเพียงพอ ไม่น่าเป็นไปได้
7. กิ้งกือ นั้นมีวิธีป้องกันตัวโดยการขดตัวเอง และจะมีการ “ปล่อยสารเคมี” บางชนิดออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นสารพวก “ไซยาไนด์” หรือ “เบนโซควิโนน” ออกมาในปริมาณเล็กน้อย แต่มีกลิ่นเหม็น สารที่ปล่อยออกมานี้สามารถฆ่าสัตว์ตัวเล็กๆได้ แต่ไม่มีกลไกที่จะทำร้ายคนได้เลย มีเพียงแค่อาการระคายเคือง ผิวหนังไหม้ และปวดอยู่ประมาณ 2-3 วัน เมื่อถูกสารพิษจากกิ้งกือให้ล้างแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือ แอลกอฮอล์บริเวณที่ถูกพิษก่อนเดินทางไปพบแพทย์
จึงทำให้คิดว่า แล้วสิ่งที่เห็นคืออะไร
– มีแผลที่เท้าและเดินเท้าเปล่า ไข่กิ้งกือเข้าไปในแผล
– ตัวอ่อนที่เห็นไม่ใช่ตัวอ่อนกิ้งกือ แต่เป็นตัวอ่อนของแมลงชนิดอื่น หรืออาจจะเป็นหนอน
– อาจมีกิ้งกือป่าบางสายพันธุ์รึเปล่า ที่กัดคนไข้และวางไข่ในตัวคนได้จริงๆ ยังเป็นเรื่องลึกลับมาจนถึงทุกวันนี้ !