ทุกข์ตกอยู่ที่คนเกลียด กรรมตกอยู่ที่คนเคียดแค้น
คนที่ไม่ทุกข์ ไม่มีกรรม… คือ คนที่ไม่เกลียด ไม่เคียดแค้นใคร
ใครให้อภัยก่อน ก็มีความสุขในชีวิตก่อน
ให้อภัยแต่ไม่ให้โอกาส ให้อภัยแต่ไม่กลับไปคบ
คุณต้องเข้าใจก่อนว่า.. “ให้อภัย” กับ “ให้โอกาส” มันคนละส่วนกัน
การให้อภัย คือ การยกโทษทางจิตใจในสิ่งผิดที่เขาทำต่อเรา
ทำให้ความรู้สึกของความโกรธแค้นของเราบรรเทา
เรารู้สึกว่าเราให้อภัยเขาได้ เราจึงให้อภัย
ให้อภัยโดยไม่ขึ้นกับว่าคนที่ทำผิดนั้นจะเป็นอย่างไร
จะเสียใจ จะชดใช้ จะรับโทษหรือเปล่า เราไม่ต้องไปสน
แต่เราก็ให้อภัยเขาได้ เพื่อปลดปล่อยความโกรธ ออกจากใจเรา
บางครั้งเราไม่ให้อภัยบางคน เพราะ… คิดว่าเราทำไม่ได้
หรือไม่เราก็รู้สึกว่า เราไม่อยากให้อภัย เราจะเก็บความโกรธแค้นนี้ไว้
เพราะเขาไม่สมควรได้รับการให้อภัย แต่ในขณะเดียวกันนั้น
เรากลับไม่รู้ตัวว่าจิตใจที่โกรธแค้นนั้นมาพร้อมกับความทุกข์
และมันทำร้ายเราเสมอ คนที่ทำผิดกับเรา ไม่ได้มารู้สึกด้วยกับเราเลย
การให้อภัย ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องกลับไปดีกับเขา
แต่เป็นการทำให้เราพ้นจากจิตใจที่เคียดแค้นและเจ็บปวดต่างหาก
เคยได้ยินไหม.. “ให้อภัย” แต่.. “ไม่สุงสิงด้วย”
“ยกโทษให้” แต่… “ไม่กลับไปคบ”
ให้อภัยเขา เราสุข โกรธเขา เกลียดเขา เราก็ทุกข์เอง
ให้อภัยมันช่วยปลดปล่อยเราจาก.. ความทุกข์ และ ความแค้น
คนที่ทำได้คือคนที่ชนะไม่ใช่พ่ายแพ้
จริงๆ แล้วการให้อภัยกับการให้โอกาส
เป็นคนละส่วนกัน เราให้อภัยแต่ไม่ให้โอกาสได้
เพราะการให้อภัยคือการยกโทษทางจิตใจ
ที่ปลดปล่อยตัวเราจากการถูกทำร้ายทางใจ
แต่การให้โอกาสต้องมาพร้อมกับการพิสูจน์ตัวเองของคนทำผิด
ถ้าคนทำผิดไม่ได้กลับใจ ไม่ได้เสียใจ
เราไม่จำเป็นต้องให้โอกาสเสมอไป
และบางครั้งเขายังต้องรับโทษจากความผิดนั้น
แต่ส่วนของเรานั้น แค่ยกโทษให้เขา แล้วเดินหนีออกมา
เอาความสุขของเรากลับคืนมาใหม่เป็นของเรา
การให้อภัย ทำให้เราได้ชีวิต และ ความสุขของเรากลับมา