ละครเรื่องบุพเพสันนิวาสนอกจากละครจะสนุกทำคนดูฟินกระจายแล้ว ยังให้ความรู้เรื่องราวในประวัติศาสตร์อย่างมากมายทำให้คนไปค้นคว้าหาประวัติข้อมูลต่างมาแชร์ต่อๆกันเพื่อให้เป็นความรู้ที่ต่อยอดจากการที่ดูละครและอีกหนึ่งเรื่องที่วันนี้ gangbeauty อยากเอามาฝากกันก็คือในเรื่องจะมีฉากที่นางเอกจะเอาเงินไปซื้อมุ้งให้กับบ่าว และถ้าใครได้ดูว่าเงินที่นางเอกเทมาเป็นเงินที่รูปร่างหน้าตาแปลก เพราะเป็นเงินที่คนสมัยก่อนเค้าใช้กัน วันนี้เลยอยากพาออเจ้ามารู้จักกับเงินสมัยอยุธยา ออเจ้ารู้ไหมว่าใช้สิ่งใดซื้อ-ขายกัน ?
ภาพจาก สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
ภาพจาก mello.me
1. เงินพดด้วง
เป็นเงินตราของไทยโบราณ ใช้แลกเปลี่ยนหมุนเวียนในประเทศไทยเป็นเวลายาวนาน ประมาณกว่า 600 ปี ตั้งแต่กรุงสุโขทัย อยุธยาจนถึง กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยทำจากแท่งเงินบริสุทธิ์ตามน้ำหนักพิกัดของราคา ทุบปลายทั้งสองข้างให้งอเข้าหากัน มีรูปร่างคล้ายลูกปืนโบราณ ชาวต่างประเทศเรียกเงินชนิดนี้ว่า “Bullet Coin”ซึ่งแบ่งออกได้ ๕ หน่วย คือ ไพ เฟื้อง สลึง บาท และตำลึง โดยที่ “ตำลึง” คือหน่วยน้ำหนักที่สูงสุดซึ่งพอเหมาะแก่ การใช้สอยและพกพา ส่วน “ไพ” คือหน่วยเล็กที่สุด ที่ยังสามารถหยิบจับได้ เพราะค่าน้ำหนักที่ต่ำกว่านี้จะทำให้ได้เงินพดด้วงที่เล็กเกินไปจนยากในการหยิบฉวยและเก็บรักษา แต่ด้วยขนาดที่เล็กเกินไปในยุคต่อๆ มาได้ๆ ผลิตเงินพดด้วงน้ำหนัก ๒ ไพขึ้นแทน
ภาพจาก สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
ภาพจาก mello.me
2.เบี้ย
สมัยโบราณหอยเบี้ยถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชน โดยมีการใช้อย่างแพร่หลายในชุมชนโบราณบริเวณรอบทะเลสาบแคริเบียนการใช้หอยเบี้ย หรือเรียกกันว่า เบี้ย เป็นเงินตราในแผ่นดินสยามนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชา นุภาพ ทรงกล่าวไว้ในหนังสือตำนานเงินตราไว้ว่า “ในประเทศสยามนี้ใช้เงินกับเบี้ย (หอย) เป็นเครื่องแลกในการซื้อขายมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย เงินนั้นหาตัวโลหะเอาแต่ต่างประเทศ เอามาหล่อหลอมทำเป็นเงินตราในประเทศสยามนี้เอง แต่ส่วนเบี้ยนั้นอาศัยพวกชาวต่างประเทศ เที่ยวเสาะหาตามชายทะเลแล้วพามาขายในประเทศนี้รับซื้อไว้ใช้สอยเป็นเครื่องแลกในการซื้อขาย ประเพณีเช่นนั้นคงใช้มาจนตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี”
ทั้งนี้ เงินเบี้ยเป็นเงินปลีกที่มีมูลค่าต่ำสุดในระบบเงินตรา มีอัตราประมาณ 100 เบี้ยต่อ 1 อัฐ (เท่ากับ 1 สตางค์ครึ่ง) ชาวบ้านจึงมีไว้ใช้กันได้ แต่สำหรับชนชั้นปกครอง จะใช้เบี้ยเป็นตัวกำหนดค่าปรับทางกฎหมายเพื่อควบคุมไพร่หรือทาสที่กระทำผิด
ภาพจาก econandhistory.weebly.com
3.ไพและกล่ำ
ไพและกล่ำเป็นเงินตราที่ทำจากโลหะที่ไม่ใช่เงิน เช่น ทองแดง ทองเหลือง จึงมีมูลค่าต่ำกว่าเงินพดด้วง และด้วยมูลค่าที่ไม่สูงมากไป ชาวบ้านจึงสามารถนำมาใช้ได้ง่าย โดยมาตราเงินสมัยกรุงศรีอยุธยาระบุไว้ว่า 2 กล่อม เท่ากับ 1 กล่ำ, 2 กล่ำ เท่ากับ 1 ไพ
ภาพจาก สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
4.เงินประกับ
เงินประกับคือเงินปลีกทำจากดินเผา มีรูปร่างกลม มีตราประทับเป็นรูปต่างๆ คือ ดอกบัว กินรี กระต่าย ราชสีห์ ถูกนำมาใช้แทนเบี้ยเมื่อยามขาดแคลน ดั่งในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่เกิดสภาวะขาดแคลนเบี้ยขึ้น จึงต้องผลิตประกับดินเผาขึ้นมาใช้แทนในช่วงระยะหนึ่ง จนเมื่อมีพ่อค้านำหอยเบี้ยเข้ามาขายก็กลับมาใช้เบี้ยตามเดิม
ภาพจาก mello.me
สำหรับมาตราเงินตราไทยที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นดังนี้
1 ชั่ง = 20 ตำลึง
1 ตำลึง = 4 บาท
1 บาท = 4 สลึง
1 สลึง = 2 เฟื้อง
1 เฟื้อง = 4 ไพ
1 ไพ = 2 กล่ำ = 200 เบี้ย
1 กล่ำ = 2 กล่อม = 100 เบี้ย
1 กล่อม = 50 เบี้ย
ภาพจาก mello.me