“มดลูก” อวัยวะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของคุณผู้หญิง เนื่องจากมดลูก เป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ และมีผลต่อฮอร์โมนที่จะสร้างสมดุลที่ดีให้แก่ร่างกาย การดูแลมดลูกจึงเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องใส่ใจ และให้ความสำคัญกับมันให้มากๆเท่ากับอวัยวะสำคัญอื่นๆ
ยิ่งกับคุณผู้หญิงที่วางแผนจะมีลูกคงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าอวัยวะภายในอย่างมดลูก เพราะหากมดลูกไม่แข็งแรง นอกจากจะบั่นทอนสุขภาพกายของตัวเองแล้ว ยังมีผลไปถึงสุขภาพกายของเด็กในครรภ์ที่จะลืมตามาดูโลกด้วย
วันนี้ GangBeauty เลยมี 7 เคล็ดไม่ลับสำหรับดูแลมดลูกให้แข็งแรงมากฝากคุณสาวๆกัน ไปดูกันเลย
1. ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
:มดลูกคืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย หากร่างกายแข็งแรง โลหิตจะไหลเวียนไปเลี้ยงได้เต็มที่ ทำให้มดลูกแข็งแรง การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เช่น
– ดูแลน้ำหนักตัวให้ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ผอมแห้งหรืออ้วนฉุเกินไป
– นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยคืนละ 6 ? 8 ชั่วโมง
– รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้
– ดื่มน้ำสะอาดวันละ 30 ? 40 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
– งดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่
2. เช็ดให้ถูกทิศ
:ผู้หญิงเป็นเพศที่ค่อนข้างมีอวัยวะที่ซับซ้อน และความซับซ้อนก็มีผลให้ง่ายต่อการติดเชื้อโรค เวลาที่คุณเข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะหรืออุจจาระ เป็นธรรมดาที่จะต้องมีการเช็ดคราบสกปรกหลังเสร็จภารกิจ แต่ทราบหรือไม่ค่ะว่า การเช็ดมีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะถ้าเผลอเช็ดผิดทิศผิดทาง การติดเชื้อก็สามารถเกิดขึ้นได้ทันที การทำความสะอาดที่ถูกต้องจะต้องเช็ดจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง เพื่อไม่ให้เชื้อโรคจากทวารหนักเดินทางมาทำให้ช่องคลอดและมดลูกติดเชื้อ เห็นหรือยังค่ะว่าแค่การทำความสะอาดก็มีผลแล้ว
3. ระวังการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดอาการตกขาว ปวดท้องน้อย มีไข้ มดลูกอักเสบ แม้รักษาหายก็ยังมีอาการปวดมดลูก ปวดประจำเดือน มีตกขาวเรื้อรัง ไข้ทับระดู ไม่ตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้มดลูกดี ดังนั้นควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งกับคนที่ไม่รู้จักไม่รู้ใจหรือไม่แน่ใจ
4. ไม่ยกของหนัก
:การยกของหนักอาจเป็นอันตรายอย่างมากต่อมดลูกได้ ผู้หญิงคนไหนที่ยกของหนักบ่อยๆ อาจทำให้เกิดภาวะมดลูกต่ำ และเกิดการกระทบกระเทือนต่อกระเพาะปัสสาวะได้ อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องยกของหนักจริงๆ ก็ควรยกของให้ถูกท่าเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายได้
5. ฝึกขมิบบริหารอุ้งเชิงกราน
:วิธีการบริหารนี้ทำได้โดยการขมิบหรือเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานค้างไว้นาน 1-5 วินาที สลับกับการผ่อนคลาย 10 วินาที ทำซ้ำวันละ 100 ครั้งหรือมากกว่า และไม่กลั้นหายใจระหว่างทำ การออกกำลังเช่นนี้จะช่วยทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงตลอดไป และช่วยป้องกันอาการมดลูกต่ำได้
6. ตรวจร่างกายเป็นประจำ
:แม้ว่าเราจะแข็งแรง ก็ควรตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ เพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มแรก โรคภัยไข้เจ็บมีผลต่อมดลูกไม่มากก็น้อย เช่น โรคเบาหวาน อาจทำให้มดลูกอักเสบ ติดเชื้อ เป็นเชื้อรา และโรคเรื้อรังอื่นๆ อย่างความดันโลหิดสูง โรคไทรอยด์ โรคตับ โรคไต อาจทำให้มีการตกเลือด ประจำเดือนมามากหรือกะปริบกะปรอย
7. ไม่กินสมุนไพร ยาสตรี หรืออาหารเสริมที่มีฮอร์โมนเพศหญิงเป็นประจำ โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
:เนื่องจากมดลูกเป็นอวัยวะภายในสตรีที่ไวต่อฮอร์โมนมาก การกินฮอร์โมนเพศหญิง จึงเป็นการเพิ่มการอักเสบของมดลูก ทำให้มดลูกโต เนื้องอก มดลูกขยายขนาด และเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุของมดลูกไม่ดี อาจทำให้ไม่สามารถมีลูกได้ และอาจต้องตัดมดลูก