อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถือเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพ ซึ่งมีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง ทั้งยังบริการตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นสถานที่จุดเริ่มต้นสำหรับผู้คนที่คิดจะเดินทางไปไหนมาไหน แต่สำหรับคนรุ่นใหม่อาจไม่เคยรู้ประวัติความเป็นมาเกี่ยบกับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วันนี้ gangbeauty จึงได้นำความรู้ขนาดรวบรัดใน 20 ข้อมาให้อ่านกันค่ะ !!
1. การออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจสี่ประการ คือ ปฏิบัติการของกองทัพทั้ง 5 ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ เหตุการณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ
2. สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ “หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุ”
3. จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485
4. รูปทรงอนุสาวรีย์ เป็นทรง 5 แฉก ซึ่งเป็นรูปทรงคล้ายดาบปืนอาวุธประชิดตัว ประจำกายทหารนั่นเอง
5. ลักษณะหอคอสูง คือ ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน (อาวุธประจำกายทหาร) มีความสูง 50 เมตร จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่
6. รูปปั้นที่อยู่รอบอนุสาวรีย์มี 5 รูปปั้น ประกอบไปด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และ พลเรือน
7. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์กรณีพิพาทระหว่างไทยกับ ฝรั่งเศส สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี เรื่องการปรับปรุงพรมแดน ไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส
8. ด้านล่างอนุสาวรีย์ชัย ใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่ เป็นห้องเก็บอัฐิของทหารที่สละชีพเพื่อชาตินกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในสงคราม ซึ่งที่เก็บจะมีลักษณะคล้ายๆ ล็อคเกอร์ มีทั้งหมดประมาณ 1766 ท่าน
9. พีระศรีด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิตจนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2483-พ.ศ. 2497
10. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถือเป็นกิโลเมตรที่ 5 ของกรุงเทพฯ เพราะห่างจาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กม.ที่ 0 ระยะทาง 5 กิโลเมตร และเป็นจุดเริ่มต้นของถนนพหลโยธิน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ระยะทางจากกรุงเทพ ไปจนถึงเขตแดนแม่สาย จังหวัดเชียงราย ระยะทางยาวประมาณ 1,005 กิโลเมตร
11. บริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ มีโรงพยาบาล 7 แห่ง คือ โรงพยาบาลราชวิถี,โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน,โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า,โรงพยาบาลรามาธิบดี,โรงพยาบาลสงฆ์,สถาบันโรคผิวหนัง,สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
12. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิตั้งอยู่เขตราชเทวี
13. ก่อนที่จะมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของถนนที่เห็นกันทุกวันนี้ มีชื่อ เรียกว่า สี่แยกสนามเป้า
14. บนถนนราชวิถีแถวๆ อนุสาวรีย์มี ห้องสมุดชื่อ ซอยพระนาง ตั้งอยู่ปากซอยราชวิถี 4 ตรงข้ามสวนสันติภาพ เป็นห้องสมุดประชาชนที่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าใช้บริการได้ฟรี เปิดให้บริการ วันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 08.30-20.00 น. วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-17.0009.00-17.00 น. (ปิด วันจันทร์ )
15. ก๋วยเตี๋ยวเรือเป็นอาหารยอดฮิต ของที่นี่ เวลาสั่งชามใหญ่ก็มี แต่คนจะฮิตสั่งถ้วยเล็กๆ ขายตั้งแต่ชามละ 5 บาท เรื่อยมาปัจจุบันราคาประมาณชามละ 10-15 บาท ร้านที่พอมีชื่อเป็นที่รู้จักตั้งแต่แรกๆก็มี ร้านป๋ายักษ์ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือพระนคร ร้านอนงค์ จริงๆ มีอีกหลายร้านเลย
16. ศูนย์การค้าบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ มีทั้งหมด 5 แห่ง ด้วยกัน 1.ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาราชวิถี 2.เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า 3.เซ็นเตอร์วัน ช้อปปิ้งพลาซ่า 4.แฟชั่นมอลล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์(ปิดกิจการแล้ว) 5.คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ
17. เดิมทีแฟชั่นมอลล์ (ก่อนปิดกิจการ) เคยเป็นศูนย์การค้าคือ ห้างโรบินสันสาขาแรก เปิดให้บริการเมื่อปี 2522 ก่อนจะมาเปลี่ยนเป็น แฟชั่นมอลล์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2546 ก่อนที่จะประกาศหยุดกิจการที่มีมายาวนานกว่า 14 ปี ในวันที่ 31 ตุลาคม 2560
18. ร้านราชวิถีเภสัช เป็นร้านขายยายอดฮิต ของอนุสารีย์ชัยฯ ว่ากันว่ามีราคาถูกกว่าร้านอื่นๆ (จริงๆแล้วฝั่งที่ตั้งร้านมีร้านขายยาอื่นๆ ยอะเลย) เวลาไปซื้อคุณต้องลิสต์ รายการที่จะซื้อไว้เลย เพราะคนจะเยอะมาก เนื่อจากที่นี่ไม่ได้ขายแค่ยาเพียงเดียว มีพวกโฟมล้างหน้า ยารักษาสิว สาวๆ ฮิตไปกันมาก ร้านตั้งอยู่ตรงข้าม รพ.ราชวิถี
19. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่มีรถโดยสารหลายเส้นทาง ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS และรถตู้ ผ่านตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นชุมทางการคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
20. จากข้อมูลของการจัดระเบียบรถตู้ คสช. เดิมทีมีจำนวนรถตู้ที่วิ่งให้บริการประชาชนรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมีประมาณ 4,000-5,000 คัน มีทั้งหมด 167 วิน ปัจจุบันย้ายแล้ว