“น้ำนิ่งไหลลึก น้ำลึกไร้เสียง”
พ่อชวนลูกออกไปเดินเล่นยังชายป่า พอถึงทางโค้ง พ่อหยุดเดินแล้วถามลูกว่า?
“นอกจากเสียงนกร้องแล้ว ลูกได้ยินเสียงอะไรอีก”
ลูกหยุดเดินแล้วเงี่ยหูฟัง ก่อนจะตอบว่า?
“นอกจากเสียงนกร้องแล้ว ยังมีเสียงรถม้าวิ่งอยู่”
พ่อบอกว่า?
“ถูกต้องแล้ว และนั่นเป็นรถม้าที่ไม่ได้บรรทุกอะไร”
ลูกแปลกใจจึงถามพ่อว่ารู้ได้ไงว่า?
“นั่นเป็นรถม้าเปล่า”
พ่อตอบว่า?
“ฟังจากเสียงก็จะรู้ว่าเป็นรถเปล่า เพราะ “รถม้ายิ่งว่างเปล่า เสียงก็จะยิ่งดัง”
พอเด็กน้อยโตขึ้น ทุกครั้งที่เจอคนที่ชอบคุยโม้โอ้อวด
พูดจาโอหังชอบตัดบทคนอื่น ถือตนเป็นใหญ่ ไม่มีใครอยู่ในสายตา ดูหมิ่นคนอื่น
เขามักจะมีความรู้สึกเหมือนพ่อมายืนกระซิบอยู่ข้างหูว่า..
“รถม้ายิ่งว่างเปล่า เสียงก็จะยิ่งดัง”
คนที่มีความเชี่ยวชาญในการเดินข้ามห้วยน้ำลำธาร ก่อนที่จะลุยลงน้ำ
เขามักหยิบก้อนหินขึ้นมาก้อนหนึ่งแล้วปาไปกลางน้ำ
เพื่อเป็นการคาดคะเนความลึกของน้ำ
ละอองน้ำยิ่งกระจายสูงขึ้นเท่าไหร่ น้ำในลำธารก็จะยิ่งตื้นเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม ถ้าละอองน้ำกระเซ็นขึ้นมายิ่งน้อยฉันใด
แล้วยังบวกกับกระแสน้ำที่ไหลเงียบสนิท
พึงสังวรได้เลยว่า?
น้ำจะยิ่งลึกมากขึ้นฉันนั้น?..จำไว้
?.. น้ำนิ่งไหลลึก น้ำลึกไร้เสียง?..
“รถม้ายิ่งว่างเปล่า เสียงก็จะยิ่งดัง”
คนมีดีแต่ไม่ทำตัวให้โด่ดเด่น ไม่โอ้อวดบารมี ไม่พูดจาข่มเขา
นั่นน่าจะเป็นวิถีของคนจริง
หากนำเอาหลักการเหล่านี้มาเปรียบเปรยกับบุคคลที่เราพบเจอ จะสังเกตุได้ว่า
คนใจเย็นเวลาสนทนากับคนอื่น มักจะสามารถหลีกเลี่ยงการขัดแย้งกับคู่สนทนา
และยังสามารถซึมซับรับรู้ถึงความคิดเห็นของคนอื่น
แทนที่จะดันทุรังเอาแต่ยัดเยียดความคิดเห็นตนเป็นใหญ่อยู่ฝ่ายเดียว
คนที่ก้าวเดินด้วยความใจร้อน มักมองไม่เห็นตะปูบนพื้นฉันใด
คนที่เต็มไปด้วยความวิตกกังวล ก็ไม่รู้จักรสชาติของวันชื่นคืนสุขฉันนั้น
ปฐพีนี้ไม่มีไรใหญ่เกินมหาสมุทร แต่เหนือสุดกว้างใหญ่กว่าคือเวหา
แม้นเวหาจะยิ่งใหญ่ครอบจักรวาล แต่ยังกว้างสู้จิตมนุษย์มิได้เอย