คำขอโทษที่ไม่ต้องถามหาเหตุผล?
ลูกชาย : พ่อครับ ผมจะแต่งงานนะครับ
คุณพ่อ : แกต้องขอโทษพ่อก่อน!
ลูกชาย : ทำไมผมต้องขอโทษล่ะครับ?
คุณพ่อ : แกขอโทษก่อนเถอะน่า!
ลูกชาย : เพราะอะไร? ผมผิดอะไรครับพ่อ?
คุณพ่อ : แกขอโทษนะถูกแล้ว!
ลูกชาย : ผมทำอะไรผิดเหรอครับพ่อ?
คุณพ่อ : ขอโทษก่อน!
ลูกชาย : ทำไมครับ?
คุณพ่อ : ขอโทษพ่อก่อน!
ลูกชาย : พ่อบอกเหตุผลมาก่อนว่าเพราะอะไร?
คุณพ่อ : ขอโทษมาก่อน!
ลูกชาย : ผมอยากรู้ว่าผมทำผิดอะไรครับพ่อ?
คุณพ่อ : ขอโทษก่อน!
ลูกชาย : ก็ได้ครับ ผมขอโทษพ่อครับ!
คุณพ่อ : ตอนนี้แกแต่งงานได้แล้ว! นี่เป็นบททดสอบแรกก่อนที่แกจะแต่งงาน เมื่อไหร่ที่แกรู้จักขอโทษโดยที่ไม่ต้องรู้ถึงสาเหตุและเหตุผล แกมีคุณสมบัติในการแต่งงาน ชีวิตครอบครัวของแกจะยั่งยืน พลอยก็เหมือนกันนะลูก บทเรียนนี้พ่อไม่ได้สอนพี่ชายแกเพียงคนเดียว สักวันหนึ่งที่แกจะแต่งงานกับใคร จำบททดสอบที่พ่อให้พี่แกทำเมื่อสักครู่นี้ให้ดี แล้วคู่ชีวิตของลูกจะยั่งยืน
“ขอโทษ”
คือทำกล่าวของคนที่ทำความผิด ความเข้าใจเช่นนี้ถูกต้องแล้วสำหรับคนทั่วไป
แต่สำหรับคู่ชีวิต มิตรสหายหรือครอบครัว บางครั้งก็ต้องพูดออกมาทั้งๆที่มันไม่มีที่มาและที่ไป
ไม่มีเหตุและผลให้ถามหา เพราะต่อให้เถียงกันจนชนะด้วยเหตุผลของใครคนใดคนหนึ่ง
ผลลัพธ์คือแพ้ราบคาบด้วยกันทั้งสองฝ่าย สิ่งนี้คือความต้องการของคนทั้งสองหรือไม่?
คำตอบคือไม่! แต่ทำไมเวลาไม่เข้าใจกัน กลับไม่กล้าขอโทษอีกฝ่ายหนึ่งเล่า? คำตอบคือ เพราะทิฐิ
หากใครคนใดคนหนึ่งง้ออีกฝ่ายหนึ่งก่อน ขอโทษอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เธอจงรู้ไว้ เขาอาจไม่ใช่ฝ่ายผิด!
แต่เพราะเขารักอีกฝ่ายหนึ่งมากกว่าคำว่าฝ่ายใดเป็นผู้ผิด เขาเพียงแค่เป็นผู้ที่ยอมลดอัตตาของตัวเองลงก่อน
หากเขาผิด แล้วเขาขอโทษ นั่นแปลว่าเขารู้ผิดและอยากแก้ไข
หากเราผิด แล้วเขาขอโทษเราก่อน นั่นแปลว่าเขาถนอมความรู้สึกของเรา ยอมให้อภัยเราก่อน
เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเอ่ยคำขอโทษ อีกฝ่ายหนึ่งต้องพร้อมให้อภัย ให้โดยไม่ติดใจ
หากให้แต่ปาก แต่ติดค้างอยู่ที่ใจ สักวันสะเก็ดจะกลายเป็นแผลร้าย ลุกลามจนเกินเยียวยา
เธอเอ๋ย จงจำไว้ อีกหนึ่งเคล็ดลับของการประคองชีวิตคู่ก็คือ คำขอโทษที่ไม่ต้องมีเหตุผล