วิธี เตรียมรับมือกับความตาย ต้องทำอย่างไรเมื่อวันสุดท้ายมาถึง
ความตายเป็นสิ่งที่เราคาดคะเนไม่ได้ มันมักจะมาแบบไม่คาดคิด ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า การ เตรียมรับมือกับความตาย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรศึกษาไว้
ไม่มีใครรู้ว่าตัวเองจะตายแบบไหนและเมื่อไหร่ อาจจะนอนตายบนเตียง ตายบนถนน ตายในน้ำ หรือสำลักอาหารตายอยู่ในร้านอาหารก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ในเมื่อไม่รู้เวลาตายที่แน่นอน ไม่รู้รูปแบบการตาย การรอให้อายุมากขึ้น หรือรอให้รู้แน่ชัดว่าเรากำลังจะตายในเวลาอันใกล้จึงไม่ใช่การเตรียมตัวตายที่เหมาะสม วิธีรับมือกับความตาย ต้องทำอย่างไร มาดูกัน
เขียนพินัยกรรม
ไม่ว่าเราจะมีทรัพย์สมบัติมากน้อย แค่ไหนก็ตาม ควรทำเอาไว้ โดยระบุให้ชัดเจนว่า จะยก อะไรให้ใคร รวมถึงเรื่องร่างกายและชีวิตของเราว่าจะให้ ยื้อชีวิตหรือไม่ ให้จัดการกับร่างกายของเราอย่างไร ให้จัด งานศพอย่างไร การเขียนพินัยกรรมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของ การทำความคุ้นเคยกับความตาย และยิ่งเขียนให้ละเอียด เท่าไหร่ก็ยิ่งจริงจังในการเรียนรู้และฝึกฝนเรื่องความตาย มากเท่านั้น
ทบทวนก่อนนอน
ทบทวนตัวเองว่าวันนี้เราทำตัวเหมาะสมหรือยัง หากพรุ่งนี้ต้องตาย มีสิ่งใดที่ยังไม่ได้ทำ ให้พยายามทำ สิ่งนั้นในวันถัดไปให้ได้ พยายามทำจิตให้ผ่องใสก่อนนอน แล้วตื่นขึ้นมาด้วยจิต ที่ผ่องใส
จำลองสถานการณ์
ลองจำลองสถานการณ์บ่อยๆ ใช้เวลาก่อนนอนหรือเวลาว่าง ระหว่างวัน เช่น ขณะรอคิว รถติด ลองคิดอย่างจริงจัง ว่าเรากำลังจะตาย คิดให้เห็นสภาพจริงๆ ว่าเราจะรู้สึก อย่างไรหากต้องตายจากคนที่เรารักและทรัพย์สินที่เรามี แล้วพยายามปล่อยวางความรู้สึกนั้น ทำจิตให้ผ่องใส
นึกภาพคนที่รักตาย
ลองคิดอย่างจริงจังว่า หากคนที่เรารักตาย นึกให้เห็นภาพ เขานอนเปิดปากแต่ไม่มีลมหายใจ ร่างกายซีด เย็นเฉียบ เพื่อฝึกรับมือกับความรู้สึกนั้น
ฝึกรับมือกับความตาย
? ใช้การตายของสัตว์เลี้ยงที่เรารักเป็นเครื่องมือในการฝึก รับมือกับความเศร้าและความห่วงหาอาทร พร้อมๆ กับ พยายามฝึกจิตให้ความเศร้าลดลงเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
? ย้ำเตือนตัวเองเสมอเมื่อเห็นคนป่วยหรือคนตาย ไม่ว่า จะเป็นคนที่เรารู้จักหรือคนในข่าว ก็ใช้เหตุการณ์นี้เป็น สิ่งช่วยย้ำเตือนตัวเองว่า วันหนึ่งเราจะป่วยแบบนี้ วันหนึ่ง เราจะตายเหมือนกัน เพราะการย้ำเตือนบ่อยๆ จะทำให้ เราไม่ประมาท
? เวลาเห็นข่าวคนตาย คนถูกฆ่า ถูกข่มขืน ให้ใช้โอกาสนี้ ในการเตือนใจตัวเองว่า ถ้าเป็นเราหรือญาติของเราถูก กระทำแบบนั้น เราจะทำจิตให้ผ่องใสได้หรือไม่ ต้องทำ อย่างไร
? ทุกครั้งที่ไปงานศพ เราควรใช้โอกาสนี้เตือนสติตัวเอง ให้เห็นความไม่แน่นอนของชีวิต และความแน่นอนในความตายของทุกคน
? เวลาเจ็บป่วย ปวดฟัน หรือได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ให้ใช้โอกาสนี้ในการฝึกฝนตนเอง พยายามทำจิตให้ผ่องใส ในขณะที่ร่างกายเจ็บปวด
? เวลามีความทุกข์ ไม่สบายใจ แทนที่จะปล่อยให้มันเกิดขึ้น อยู่อย่างนั้น เราสามารถใช้โอกาสดังกล่าวเป็นจังหวะในการ ฝึกทำใจให้ผ่องใส เพื่อให้เรามีความเชี่ยวชาญมากขึ้น
? เมื่อมีความโกรธ ความไม่พอใจเกิดขึ้น เช่น ถูกรถคันอื่น ปาดหน้า ถูกแซงคิว ได้รับบริการที่ไม่ดีจากพนักงาน เจอ ลู กค้าทำตั วไม่ดี จงใช้ โอกาสนี้ ในการฝึ กตนเองให้ ปล่ อยวาง ความไม่พอใจ และทำจิตให้ผ่องใสให้เร็วที่สุด
-เอาชนะความกลัวด้วยการฝึกตนเองให้ลดความกลัวลง แล้วทำจิตให้ผ่องใส อย่างเช่น นั่งเครื่องบินแล้วเจอหลุม อากาศ หรือรู้สึกกลัวเมื่อต้องอยู่คนเดียวในที่มืด หรือ เผชิญหน้ากับสัตว์ที่เรากลัว
ฝึกอโหสิกรรม
ฝึกอโหสิกรรมเอาไว้ ถ้าเป็นคนที่ไม่ยอมยกโทษให้ใครง่ายๆ สิ่งนี้จะฝังลึกจนเป็นนิสัย ทำให้เราอาจไม่ยอมอโหสิกรรม ให้บางคนในเวลาใกล้ตาย เราจึงควรเริ่มฝึกตั้งแต่วันนี้ โกรธใคร เกลียดใคร ก็พยายามโกรธเขาให้น้อยลงหรือหายโกรธให้ได้โดยเร็ว
ทำบุญให้มาก
เพราะถ้าเราไม่ทำบุญเอาไว้ให้มาก จะเป็น เรื่องยากในการคิดถึงบุญที่ทำให้จิตผ่องใสในเวลาใกล้ตาย เพราะถ้าเราทำบุญให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ในเวลา ใกล้ตายเราจะมีทางเลือกในการนึกถึงบุญมากกว่าและ ทำให้จิตผ่องใสได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะทานที่ทำแล้วปลื้มใจ และสามารถช่วยทำให้จิตผ่องใสขึ้น และพยายามรักษา ศีล 5 ให้เคร่งครัด