ต้องขอยอมรับว่าการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันมาก บางคนทำงานไม่เป็นเวลาทำงานเป็นกะ ไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาการเข้านอนหรือการไปทำงานที่แน่นอนได้ จึงทำให้ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคุณยิ่งแตกต่างจากคนอื่นๆมากยิ่งขึ้น แต่คุณก็สามารถดูแลสุขภาพร่างกายของคุณได้ง่ายๆ เพียงเลิกปฏิบัติพฤติกรรมตาม 9 ข้อต่อไปนี้ ก็จะสามารถช่วยยืดอายุสุขภาพของคุณได้มากยิ่งขึ้น !!!
1. ไม่ยอมอาบน้ำก่อนนอน นอกจากจะทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัวแล้ว อาจทำให้เราเกิดโรคเกี่ยวกับผิวหนังได้ เพราะตลอดวันเราต่างต้องเจอกับสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง คราบเหงื่อ แถมพอตื่นนอนตอนเช้าก็ทำให้ไม่สบายตัว
2. ดื่มน้ำมากๆก่อนนอน กลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการพักผ่อนอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการรบกวน แต่หากดื่มน้ำมากก่อนนอนอาจทำให้ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึก ถ้าอั้นไว้ก็จะเป็นปัญหามีอาการบวมน้ำได้
3. เข้านอนไม่ตรงเวลา บางคืนนอนเร็ว บางคืนนอนดึก ซึ่งการไม่มีวินัยในการเข้านอนนี้อาจทำให้ระบบการทำงานภายในร่างกายผันผวนเพราะปรับสภาพไม่ทัน ทางที่ดีควรนอนให้เป็นเวลาเดียวกันเป็นประจำทุกวัน
4. อย่านอนกลางวันนานเกินไป หากนอนนานเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง จะทำให้รบกวนเวลานอนกลางคืน และทำให้นอนหลับยาก ควรนอนกลางวัน วันละ 20-30 นาที จะช่วยให้ระหว่างวันร่างกายสดชื่น พร้อมทำงาน
5. กินมื้อเย็นเยอะหรือกินมื้อดึกบ่อยๆ ถือสิ่งที่ไม่ควรทำก่อนนอนที่สุด เพราะเมื่อเราเข้านอนเพื่อพักผ่อน แต่ร่างกายเรายังคงทำงานโดยเฉพาะกระเพาะอาหารที่ยังต้องทำงานต่อไปทั้งคืน โดยย่อยอาหารมื้อเย็นที่คุณกินเข้าไป
6. เอางานกลับมาทำที่บ้าน จะทำให้เวลานอนในตอนกลางคืนสั้นลง ร่างกายไม่ได้หยุดพักเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และอาจทำให้เกิดความเครียดซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพมาก
7. ใช้สมาร์ตโฟนก่อนนอน ในการคุย แชต เล่นโซเชียล เล่นเกมส์ก่อนนอนจนง่วงหลับไป ถือเป็นอีก 1 ข้อที่ไม่ควรทำ เพราะนอกจากจะทำให้นอนหลับไม่เต็มที่แล้ว คลื่นของโทรศัพท์มือถือยังอาจมีผลกระทบต่อสมองอีกด้วย
8. ใส่นาฬิกาข้อมือนอน โดยเฉพาะนาฬิกาที่เรืองแสงอาจมีผลต่อสุขภาพในระยะยาว เนื่องจากร่างกายจะได้รับคลื่นเรืองแสงหรือพลังงานจากนาฬิกาเป็นเวลานาน 6-8 ชั่วโมง
9. ใส่เสื้อชั้นในนอน คนหน้าอกใหญ่สามารถใส่ได้แต่ไม่ควรรัดเกินไปและไม่มีโครง ส่วนคนหน้าอกเล็กไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ เพราะมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่ใส่เสื้อชั้นในแน่นกระชับยาวนานกว่า 12 ชั่วโมง มีความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม