แทบจะเป็นกันทุกคนสำคุณสาวๆที่ชอบเข้าห้องน้ำนานๆไม่ว่าจะถ่ายหนัก ถ่ายเบา คุณๆเอาโทรศัทพ์ไปหนักเล่นได้ตลออด แต่คุณสาวๆรู้หรือไม่ ว่าการนั่งในห้องน้ำนานๆเสี่ยงเป็นโรคสีดวงทวารได้นะ! ไปดูกันเลยว่าเพราะอะไร….
โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบบ่อย พบในมนุษย์ที่ต้องยืน-นั่งนาน เกิดเลือดคั่ง เลือดดำและเลือดแดงมีการเชื่อมต่อกันและมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นไปตามกลไกของธรรมชาติในร่างกาย ให้เลือดได้ไหลเวียนเข้าถึงกัน รูทวารบริเวณทวารหนักจะอ่อนนุ่ม ทำให้อุจจาระง่ายผ่านสะดวกรอยเชื่อมต่อของเลือดดำและแดงนี้จะมีทั้งภายในและภายนอกของบริเวณก้น หากมีการอักเสบ บวม เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เส้นเลือดบริเวณนั้นจะโป่งขยายให้เราได้เห็นชัดเจน
ริดสีดวงทวารอักเสบ เกิดจากการไหลเวียนของเลือดบริเวณก้นไม่สะดวก จะพบบ่อยในผู้ที่ท้องผูกบ่อย เข้าส้วมนาน ต้องเบ่งนาน เบ่งแต่ละครั้งทำให้เลือดไปคั่งค้างบริเวณก้น เลือดที่เคยไหลเวียนสะดวกดี กลับขังตัวนาน อาจทำให้เกิดแข็งตัว คั่งค้างอยู่ (Thrombosis) ก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นตามมา ริดสีดวงที่บวม อักเสบ อาจโตบวมรัดกับหูรูดทวารหนัก เลือดผ่านไปเลี้ยงไม่สะดวกจนขาดเลือด (Strangulation) การอักเสบทั้ง 2 แบบ ทำให้อุจจาระถ่ายลำบากมาก
[อาการของริดสีดวงทวาร]
อาการของโรคริดสีดวงภายนอก
คือ มีติ่งเนื้อสีชมพูคล้ำออกมาจากปากทวารหนักเมื่อมีอาการท้องผูกหรือท้องเสีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม เจ็บ และระคายเคือง (ถ้าไม่เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ก็อาจจะไม่ก่อปัญหาอะไรมากนัก)
หากมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหลอดเลือดที่โป่งพองจะก่อให้เกิดอาการปวด บวม เจ็บมากขึ้น (แต่มักจะไม่ค่อยพบว่ามีเลือดออกจากติ่งเนื้อนี้) ซึ่งปกติแล้วจะหายเจ็บได้ภายใน 2-3 วัน อย่างไรก็ตาม กว่าจะหายบวมอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เมื่อหายดีแล้วอาจจะยังมีผิวหนังเป็นติ่งเหลืออยู่ และหากหัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือคันบริเวณรอบปากทวารหนักได้ด้วย
อาการของโรคริดสีดวงภายใน
คือ – ส่วนมากจะมีอาการเลือดออกทางทวารหนัก โดยไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด ซึ่งจะเกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังจากถ่ายอุจจาระเสร็จ เลือดที่ออกมานั้นจะมีลักษณะเป็นเลือดสีแดงสด ออกปนมากับอุจจาระ หรือมีเลือดไหลหยดลงในโถส้วม และอาจสังเกตว่ามีเลือดเปื้อนบนกระดาษชำระ (เลือดจะออกมาในลักษณะอาบก้อนอุจจาระ ส่วนตัวก้อนอุจจาระยังเป็นสีของมันตามปกติ ไม่มีมูกปน และเลือดมักจะหยุดไหลได้เอง) ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นๆ หายๆ ถ้ามีเลือดออกมากหรือเป็นเรื้อรัง อาจทำให้เกิดอาการซีดตามมาได้
– ในรายที่เป็นมาก หลอดเลือดจะบวมมาก ทำให้หัวริดสีดวงโผล่ออกมานอกปากทวารหนัก หรือเห็นเป็นก้อนเนื้อนิ่มๆ ปลิ้นโผล่ออกมา ซึ่งในภาวะเช่นนี้จะก่อให้เกิดอาการปวดหรือเจ็บที่ทวารหนักได้ (ถ้าเกิดลิ่มเลือดอุดตันขึ้น ริดสีดวงกลายเป็นก้อนแข็ง หรือเกิดภาวะเซลล์ตายจะทำให้มีอาการเจ็บปวดได้) และอาจจะทำให้เกิดอาการคันและอาการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ได้ด้วยเช่นกัน
[วิธีป้องกันโรคริดสีดวงทวาร]
1. ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ ทำให้อุจจาระไม่แข็งและผ่านไปได้โดยง่าย ด้วยการรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูงๆ ให้มากๆ ระวังอย่าให้ท้องผูก
2. ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและขับถ่ายออกได้ง่าย
3. ฝึกเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา ไม่กลั้นอุจจาระ (ขับถ่ายโดยไวเมื่อรู้สึกปวดอุจจาระ)
4. หลีกเลี่ยงการนั่งเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานานๆ (ให้ใช้เวลาให้น้อยที่สุดในขณะเบ่งถ่าย และหลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์มือถือและอ่านหนังสือในขณะขับถ่าย)
5. ระวังอย่าให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเดิน หรือท้องเสียบ่อยๆ
6. ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก (อ้วน) ควรหาวิธีลดความอ้วนอย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
7. ออกกำลังกายให้เพียงพอ พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เช่น การเดิน